วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

Shojo Manga ก่อนมาเป็น YAOI

takemiya_vinyl_f

พอดีไปค้นเจอบทความที่มัวแต่ซีร็อคเก็บไว้ แล้วไม่ได้เอามาใช้ในงานตัวเองสักที พบว่าประเด็นนี้ก็น่าสนใจเลยเอามาเล่าค่ะ

บทความนี้ชื่อว่า Gender insubordination in Japanese Comics (manga) for girls by Fusami Oogi, 2001

คำว่า Shojo ที่แปลว่า ผู้หญิง นั้น แท้ที่จริงแล้วไม่ได้เป็นการนำเสนอภาพของผู้หญิงญี่ปุ่น แต่เป็นการนำเสนอภาพของผู้หญิงในอุดมคติตะวันตกที่ว่า 'Good Wife and Wise Mother' ในช่วงเมจิตามกระแสเฟมินิสต์

การ์ตูนผู้หญิงเริ่มแยกตัวประมาณทศวรรษที่ 1940 แต่นักเขียนส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นผู้ชาย จนต่อมาในทศวรรษที่ 1950-1960 เนื้อเรื่องจึงมุ่งไปที่เนื้อเรื่องแบบMelodrama (น้ำเน่า?) กับประเด็นความเป็นแม่

ต่อมาในทศวรรษที่ 1970 ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในการ์ตูนผู้หญิง เนื่องจากสภาพทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงเป็นแรงงานสำคัญ ตรงกับยุคที่สองของกระแสเฟมินิสต์ตะวันตก พร้อมกับการ์ตูนผู้หญิงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงด้วยผู้เขียนและผู้อ่านส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง จากเดิมที่ส่วนใหญ่ผู้เขียนและผู้อ่านเป็นผู้ชาย รวมทั้งเริ่มมีจุดขายที่ต่างกัน การ์ตูนผู้ชายเน้นที่เนื้อเรื่อง การ์ตูนผู้หญิงเน้นที่การแสดงความรู้สึกของตัวละคร ความทรงจำ อดีต รวมถึงเทคนิคที่ใช้ เช่น พื้นหลังเป็นดอกไม้

ประเด็นหลักสองด้านที่พบในการ์ตูนผู้หญิงช่วงทศวรรษที่ 1970 คือ ตัวละครผู้หญิงเป็นตัวดำเนินเรื่อง กับการวางสถานะผู้หญิงในฐานะผู้กระทำ

แน่นอนว่ากลุ่มนักเขียนผู้หญิงในยุคนี้ก็คือ Magnificent 24 ที่เป็นยุคบุกเบิกของการ์ตูนYAOI ในปัจจุบันนั่นเอง

แฮะๆ ตัดจบซะดื้อๆ เพราะที่เหลือจะเป็นการเปรียบเทียบผลงานของแต่ละคนในยุคนั้น ใครสนใจลองไปหาอ่านกันนะคะ