วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

ราชอาณาจักรและราษฏรสยาม

แปะๆ สำรองข้อมูลของตัวเอง

----------------------------------------------

เซอร์จอห์น เบาว์ริง (Sir John Bowring). 2547. ราชอาณาจักรและราษฏรสยาม 1 (The Kingdom and People of Siam). นันทนา ตันติเวสส และคณะ (แปล). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยและมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

เกร็ดเกี่ยวกับหนังสือ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และกัณฐิกา ศรีอุดม. 2547. คำนำเสนอ: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-เซอร์จอห์น เบาว์ริง-การค้าเสรี และ "ระเบียบใหม่" ของโลกเก่า. ใน ราชอาณาจักรและราษฏรสยาม 1. หน้า (11)-(32). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยและมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
หน้า (18)
หนังสือชุดนี้ เต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ ของสยาม ตั้งแต่เรื่องสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประชากร ผลิตผลทางธรรมชาติ ประเทศราชของสยาม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไปจนถึง "บันทึกประจำวัน 1 เดือนเต็ม" ของเบาว์ริงเอง ที่จดไว้อย่างละเอียดตั้งแต่เรือมาถึงสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อ 24 มีนาคม จนถึงวันลงนามสนธิสัญญา 18 เมษายน และออกเรือจากสยามไปเมื่อ 24 เมษายน รวมแล้ว 1 เดือนเต็ม
หนังสือชุดนี้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1857 (พ.ศ. 2400) ที่กรุงลอนดอน และกลายเป็นหนังสือหายาก มีคนเล่นกันแบบเก็บ "ของเก่า" ทำให้ไม่สะดวกสำหรับการศึกษาค้นคว้า แต่น่าดีใจที่ว่าในปี พ.ศ. 2512 (1969) สำนักพิมพ์อ๊อกซฟอร์ดได้นำมาตีพิมพ์ซ้ำ และให้ "ศ.เดวิด วัยอาจ" (David K. Wyatt) เขียนคำนำให้ แต่ในการพิมพ์ครั้งหลังนี้ได้ตัดบางอย่างที่สำคัญทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย นั่นคือพระราชลัญจกรตัวหนังสือขอมเขมร และจีนของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงประทับตีตราไปใน "พระราชสาส์น (จดหมาย)" ถึงเบาว์ริง

หน้า (20)
หนังสือที่เบาว์ริง "ตัด ต่อ และแปะ" กลายเป็นเสมือน "คู่มือประเทศสยาม" อย่างดีนี้ ผงาดขึ้นมาเคียงบ่าเคียงไหล่กับหนังสือคลาสิกอย่างของลาลูแบร์สมัยอยุธยา (La Loubere, Simon de la, Du Royaume de Siam, Amsterdam, 1691, Description du Royaume de Siam, Amsterdam, 1700,1713) ซึ่งสันต์ ท. โกมลบุตร. แปลไว้ใน จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, 2510)
หรืออีกเล่มหนึ่งของสังฆราชปัลเลอกัวซ์ (Bishop Pallegoix: Description du Royaume Thai ou Siam, 1852) ที่แปลเป็นไทยแล้ว คือ "เล่าเรื่องกรุงสยาม" ท่านสังฆราชใช้ทั้งชีวิตในกรุงสยาม แต่เบาว์ริงอยู่ในเมืองหลวงของเราเพียง 1 เดือนเท่านั้นเอง หนังสือของฝรั่งเศสทั้งสองเล่มนี้ เบาว์ริงใช้ทั้งอ้าง ทั้งอิง และทั้งยกข้อความมาใส่ไว้ในหนังสือใหม่ของท่านอย่างมากมาย

หน้า 131
การแต่งงานเป็นเรื่องที่มีการเจรจามาก มิได้กระทำโดยบิดามารดาโดยตรง แต่เป็นพวกเถ้าแก่ ที่บิดามารดาของว่าที่เจ้าบ่าว เสนอให้เป็นผู้ไปดำเนินการสู่ขอกับบิดามารดาของว่าที่เจ้าสาว
ขั้นที่ 2 คือ การทาบทามสู่ขอ หากเป็นผลสำเร็จ จะมีเรือลำใหญ่ที่ตกแต่งด้วยธงทิวอย่างเบิกบานมาพร้อมกับเสียงดนตรี ปูลาดด้วยเสื้อผ้า จาน ผลไม้ พลู ฯลฯ ตรงกลางเป็นขนมขนาดใหญ่ชิ้นหนึ่งหรือหลายชิ้น วางเป็นรูปปิระมิดที่มีสีสันสดใส
เจ้าบ่าวจะถูกติดตามเป็นขบวนไปยังบ้านของพ่อตาในอนาคต และที่เป็นสินเดิมของเจ้าสาว และมีการกำหนดวันที่มีพิธีฉลองการแต่งงาน
เจ้าบ่าวมีหน้าที่จะต้องปลูกเรือนหรือครอบครองเรือนที่อยู่ใกล้กับที่เขาได้ตั้งใจไว้ และเวลาต้องผ่านไปหนึ่งหรือสองเดือนก่อนที่เขาจะพาเจ้าสาวออกเรือนไปได้ ไม่มีการทำพิธีทางศาสนาใดๆ ประกอบการแต่งงาน แม้จะมีการนิมนต์พระสงฆ์มาฉันอาหารเนื่องในงานเลี้ยงฉลอง ค่าใช้จ่ายจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการเลี้ยงฉลอง มีดนตรีพ่วงมาด้วยเสมอ

หน้า 132
แม้ว่าจำนวนภรรยาและนางบำเรอจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งและความตั้งใจของสามี ภรรยาผู้ได้รับขันหมากเข้าพิธีแต่งงาน มีฐานะสูงกว่าคนอื่นๆ ที่เหลือและเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฏหมายอย่างแท้จริงเพียงคนเดียว และตัวเธอกับบุตรธิดาเท่านั้นที่เป็นทายาทตามกฏหมาย ผู้ได้รับทรัพย์สมบัติของสามี
การแต่งงานได้รับการอนุญาตหากไม่มีความเกี่ยวดองเป็นพี่น้องกันในชั้นแรก {=ห้ามพี่น้องลูกพ่อแม่เดียวกันแต่งงานกันเอง}

หน้า 132
การหย่าทำได้ง่ายดายโดยการร้องเรียนจากสตรี ในกรณีที่สินเดิมถูกส่งคืนให้ภรรยา หากมีบุตรด้วยกันเพียงคนเดียว บุตรจะเป็นของมารดา ผู้ได้รับบุตรคนที่ 3 คนที่ 5 และที่มีในลำดับเลขคี่ทั้งหมด สามีจะได้ตัวบุตรคนที่ 2 คนที่4 และอื่นๆ ต่อไป

หน้า 132
สามีอาจจะขายหญิงที่เขาซื้อมาเป็นภรรยาได้ แต่ไม่อาจขายภรรยาที่เข้าพิธีแต่งงานด้วยกันได้ ถ้าภรรยามีส่วนในการทำสัญญาเป็นหนี้ในฐานะตัวแทนผลประโยชน์ของสามี เธออาจจะถูกขายเพื่อนำเงินมาไถ่ถอนหนี้สินได้ แต่มิใช่วัตถุประสงค์อื่น กล่าวโดยรวมได้ว่าสภาวะของสตรีในประเทศสยามดีกว่าที่อื่นในประเทศตะวันออกส่วนใหญ่