วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550

YAOI Fans As ‘Queer’ Women in Japan

YAOI Fans As ‘Queer’ Women in Japan
Akiko Mizoguchi

บทคัดย่อในงานการประชุมวิชาการQueering of Our Own: Queer Practices of Japanese Women ในการประชุมนานาชาติ “เพศวิถี เพศภาวะ และสิทธิในเอเชีย: การประชุมนานาชาติครั้งแรกว่าด้วยเรื่องเควียร์ศึกษา” (Sexualities, Genders, and Rights in Asia, 1st International Conference of Asian Queer Studies) จัดโดยโครงการจัดตั้งสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายเควียร์แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร

Starting in the early 1960s, YAOI fictions, male homosexual comics and illustrated novels created by women for women in Japan, cater to at least half a million women today. Through many stronger works of the 1960s and 1970s have proven to be crossover hits with readers of both genders, more recent YAOI comics and illustrated novels which feature explicit depiction of male homosexual acts have excluded straight male. Today over 95% readers and 100% writers and artists are women for YAOI genre as a whole, and as such, YAOI provides a female gendered and fully sexualized discursive space. What female YAOI fans communicated in this space through the representations of male homosexual romance narratives are their sexual desires and fantasies. Regardless of their sexual identities such as straight, lesbian, bisexual and others, these women operate in the YAOI space together. For example, a married woman who reads YAOI fictions and shares her fantasies with other YAOI fans on a daily basis, and claims that such acts feel more ‘sexual’ than her actual sex acts is not at all rare. Instead of calling these women straight women who like YAOI fictions, or women who belong to ‘lesbian continuum’ with lesbian fans of YAOI fictions, this paper proposes to call them ‘queer.’ By examining women’s words from magazines, face-to-face interviews and email correspondences, this paper explores this ‘queerness’ that exceeds conventional categories of sexual orientations in the hope of expanding the discussions of women’s ‘queer’ sexualities in contemporary Japan.

นับตั้งแต่ช่วงปลายของทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา YAOI การ์ตูนและนิยายที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้ชายเริ่มผลิตขึ้นโดยผู้หญิงเพื่อผู้หญิงจำนวนเกือบห้าแสนคนในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 กลุ่มผู้บริโภค YAOI ประกอบด้วยผู้ชายและผู้หญิง แต่เมื่อไม่นานมานี้ YAOI เน้นการบรรยายเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้ชายมากขึ้น ปัจจุบันกลุ่มผู้อ่านประมาณ 95% และผู้ผลิตทั้งหมดต่างเป็นผู้หญิง ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า YAOI เป็นพื้นที่สำหรับผู้หญิงในการแสดงออกทางด้านเพศสภาวะ อัตลักษณ์ทางเพศ ไม่ว่าจะเป็น รักต่างเพศ หญิงรักหญิง รักสองเพศ หรืออะไรก็ตาม ผู้หญิงเหล่านี้ต่างมีพื้นที่ในการแสดงออกผ่านทาง YAOI ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่สมรสแล้วสามารถแบ่งปันจินตนาการทางเพศกับผู้ที่ชื่นชอบ YAOI คนอื่น ๆ ซึ่งอาจจะทำให้เธอมีความสุขมากกว่าการมีเพศสัมพันธ์ในชีวิตสมรส หรือความสัมพันธ์ในกลุ่มหญิงรักหญิง โดยกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภคในการศึกษานี้จะเรียกว่า ‘Queer’ การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษารวบรวมจากเอกสาร การสัมภาษณ์รายบุคคล และการสนทนาผ่านจดหมายอิเลคทรอนิกส์ ผลการศึกษานี้จึงเป็นการสำรวจปรากฏการณ์ทางเพศวิถีและการศึกษาทางด้านเพศสภาวะของผู้หญิงชาวญี่ปุ่นในปัจจุบัน โดยใช้แนวคิด Queer Theory ในการวิเคราะห์