วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การประชุมวิชาการห้องย่อยภาษาไทย

การประชุมวิชาการห้องย่อยภาษาไทย ในการประชุมนานาชาติ
“เพศวิถี เพศภาวะ และสิทธิในเอเชีย : การประชุมนานาชาติครั้งแรกว่าด้วยเรื่องเควียร์ศึกษา”
(Sexualities, Genders, and Rights in Asia, 1st International Conference of Asian Queer Studies)
จัดโดยโครงการจัดตั้งสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
และเครือข่ายเควียร์แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
ระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2548
ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร

ชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยร่วมกันจัดเวทีคู่ขนานภายใต้สาระสำคัญหลักเรื่องสิทธิและการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยทางวิถีชีวิตทางเพศในประเทศไทย โดยประเด็นต่าง ๆ นั้นจะถูกจัดไว้ในห้องย่อยแต่ละห้องรวม 7 ห้อง ซึ่งในแต่ละห้องจะมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการ การให้ความเห็นจากนักวิชาการรับเชิญ และการร่วมแลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วม ภายในระยะเวลา 90 – 120 นาที

ภาพสะท้อนความหลากหลายทางเพศในสื่อมวลชน: REFLECTIONS OF SEXUAL DIVERSITY FROM THE THAI MASS MEDIA
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2548 เวลา: 11.00 – 12.30 น.
ผู้นำเสนอ จิตติมา ภาณุเตชะ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง
ผู้อภิปรายหลัก วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินรายการ รศ. ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหา การสร้าง และ การนำเสนอภาพลักษณ์ การทำให้สังคมเข้าใจภาพของผู้คนที่มี ความหลากหลายทางเพศ ผ่านทางสื่อ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้เรื่องภาพลักษณ์ บทบาท พื้นที่ของผู้ที่มี ความหลากหลายทางเพศ สำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเอง และ คนทั่วไป เป็นที่น่าสนใจว่า เนื้อหาอะไรที่ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอ และสร้างให้เกิดความรู้สึกอย่างไรต่อผู้ที่ได้รับสื่อดังกล่าว และมีผลกระทบอย่างไรต่อการอยู่ร่วมระหว่างผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และ คนทั่วไปในสังคม

การลื่นไหลของอัตลักษณ์ทางเพศ: THE FLUIDITY OF SEXUALITY IN THAILAND
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2548 เวลา: 13.30 – 15.30 น.
สนับสนุนโดย ภาคีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ
ผู้จัดการประชุม รณภูมิ สามัคคีคารมย์
เรื่องที่ 1 Life with a Badge: Identity and Sexuality of Gay “Quing” in Sauna M โดย จตุพร บุญหลงเรื่องที่ 2 Holistic health through lived experience of self identity in homosexual men: A meta-synthesis โดย พรเทพ แพรขาว
ผู้ดำเนินรายการ เปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา
เนื้อหา การเปลี่ยนแปลงด้านอัตลักษณ์ทางเพศที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลด้วยเหตุต่างๆ ตามประสบการณ์การเรียนรู้ เช่น การรู้สึกว่าเปลี่ยนแปลงจากชาย เป็นหญิง การเปลี่ยนแปลงในบทบาททางเพศในรูปแบบต่างๆ การรู้สึกต่อบทบาทและความคาดหวังในบทบาทของตนเองต่อคู่ เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อสังคมปัจจุบันยอมรับความหลากหลายในการดำเนินชีวิต และมีพื้นที่ในการแสดงออก และทดลอง การแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จำกัดอยู่กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ บุคคลทั่วไปก็สามารถรู้สึกถึงประสบการณ์เช่นนี้ และเมื่อบุคคลหนึ่งเกิดความรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะมีการปรับตัวต่อความรู้สึกเปลี่ยนแปลงในตนเองอย่างไร รวมถึงการได้รับการยอมรับจากสังคมรอบข้าง

จับตามิติสุขภาพของคนรักเพศเดียวกัน: HEALTH CONCERNS OF SAME-SEX RELATIONSHIP
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2548 เวลา: 10.30 – 12.30 น.
สนับสนุนโดย Population Service International
ผู้นำเสนอ ศ.นพ.สุพร เกิดสว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล
ระพีพันธ์ จอมมะเริง สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
สิทธิพันธ์ บุญญาภิสมภาร Population Service International
ณัฐยา บุญภักดี มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง
ผู้ดำเนินรายการ รศ.ดร. กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหา รูปแบบการจัดบริการ ทัศนะคติของเจ้าหน้าที่ ข้อจำกัดของการให้บริการต่างๆทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการและคุณภาพชีวิตของผู้ทีมีความหลากหลายทางเพศ เช่น ประเด็น การแพร่ระบาด และการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การผ่าตัดแปลงเพศ และกระบวนการที่เกี่ยวข้อง

การเมืองเรื่องความหลากหลายทางเพศ: POLITICS OF SEXUAL DIVERSITY
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2548 เวลา: 13.30 – 15.30 น.
ผู้นำเสนอ ณัฐยา บุญภักดี มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง
ผู้อภิปรายหลัก ผศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ดำเนินรายการ สุไลพร ชลวิไล
เนื้อหา การปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้านกฎหมายของสังคมเพื่อให้รองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศ และ วิถีชีวิตของกลุ่มคนดังกล่าว เช่น การประกันชีวิต มรดก การเปลี่ยนคำนำหน้าสถานภาพบุคคล (การยอมรับสถานภาพทางกฎหมายในฐานะคู่ชีวิตในรูปแบบต่างๆ)

ศาสนาและคนรักเพศเดียวกัน: RELIGIONS AND SAME-SEX RELATIONSHIP IN THAI CONTEXT
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2548 เวลา: 09.00 – 10.30 น.
ผู้เรียบเรียง พระวรธรรม
เรื่องที่ 1 บันเฑาะก์คือรักเพศเดียวกัน : การตีความแบบคลุมถุงชน
เรื่องที่ 2 โสเรยยะ : ปรากฏการณ์ข้ามเพศในพระไตรปิฎก
ผู้นำเสนอ รณภูมิ สามัคคีคารมย์
ประสงค์ กิตตินันทชัย
ผู้ดำเนินรายการ วิทยา แสงอรุณ
เนื้อหา การตีความปรัชญา และ หลักคิดของศาสนาพุทธที่เกี่ยวกับคนรักเพศเดียวกัน และ เพศที่หลากหลาย โดยการนำเอาเรื่องราวพุทธปรัชญามาศึกษา วิเคราะห์ และ นำเสนอแนวคิดการตีความที่แตกต่างออกไป เพื่อสร้างให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย ต่อความกว้างขวางลึกซึ้งของพุทธปรัชญา และ การวิเคราะห์ถึง คำสอนที่ได้รับการถ่ายทอดกันต่อๆมาของพุทธศาสนาว่า มีหลักคิดเบื้องหลังอย่างไร ส่งผลต่อความรู้สึกต่อตนเองของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และ การอยู่ร่วมในสังคมอย่างไร

ชุมชนของคนรักเพศเดียวกัน: THE THAI GLBT COMMUNITY
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2548 เวลา: 11.00 – 12.30 น.
ผู้นำเสนอ สุไลพร ชลวิไล
กมลเศรษฐ เก่งการเรือ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
ผู้อภิปรายหลัก ผศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ดำเนินรายการ รศ.ดร. กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหา รูปแบบการก่อรูปของสังคม และชุมชนของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศโดย มีรูปแบบต่างๆ เช่น การพบปะกันในสังคมเสมือน (Virtual society) เช่น ในอินเตอร์เน็ต หรือ ในสังคมจริง เช่น การรวมตัวกันเป็นองค์กร เป็นกลุ่ม ในรูปแบบต่างๆ สมาคม และ การจัดงานเพื่อการพบปะสังสรรค์เป็นประจำ หรือ แม้แต่ กลุ่มเพื่อนที่มีความหลากหลายทางเพศแนวทางเดียวกัน ในชนบทและเมือง เหล่านี้ต่างมีรูปแบบแตกต่างกันไป ในการรวมตัว แต่มีความเหมือนกันในด้านการแสวงหาการยอมรับ การแลกเปลี่ยน การเรียนรู้ การสร้างวัฒนธรรมย่อย และพื้นที่ทางสังคม เพื่อให้เกิดความรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม อย่างปกติสุข และไม่แปลกแยก โดดเดี่ยว

ภาษาในแวดวงหญิงรักหญิงไทย: THE VOCABULARY: TERMINOLOGY WE USE IN WOMEN WHO LOVE WOMEN
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2548 เวลา: 13.30 – 15.30
ผู้นำเสนอ Megan Sinnott
ผู้ดำเนินรายการ สุไลพร ชลวิไล
เนื้อหา ภาษาสะท้อนแนวคิด ภาพลักษณ์ของสังคมต่อบทบาท สถานะ อัตลักษณ์ทางเพศและความสัมพันธ์ทางเพศที่หลากหลาย สะท้อนความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของแนวคิดของสังคมสังคมต่อ ความหลากหลายทางเพศ การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่องเพศของคนในสังคม สะท้อนทั้งแนวคิดของคนที่อยู่ในกระแสหลัก และ คนที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นกระแสรองในวิถีชีวิตทางเพศ การศึกษาภาษา ตลอดจนการสร้างภาษาเพื่อใช้ จึงกลายเป็นสิ่งที่สำคัญต่อความเข้าใจ และ การนำสู่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดของสังคมต่อเรื่องเพศ เพื่อสะท้อนความเป็นจริงที่ชัดเจน ปราศจากอคติ และมีความเคารพศักดิ์ศรีและสร้างแนวทางการอยู่ร่วมกันระหว่างคนในสังคมซึ่งมีเพศสภาพที่หลากหลาย