วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

ข้อสังเกตบางประการที่มีต่อวิทยานิพนธ์ “ความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นแนวชายรักชาย (YAOI) และวิถีทางเพศของวัยรุ่นไทย” ของ ชยภัทร จินดาเลิศ

ข้อสังเกตบางประการนี้ เขียนด้วยมุมมอง (อคติ) ส่วนตัว ดังนั้นไม่สามารถเป็นบรรทัดฐานใดๆ และขอสงวนพื้นที่ในการโต้ตอบในเรื่องนี้ เฉพาะเจ้าตัว (ชยภัทร) เท่านั้น เนื่องจากผู้เขียนเชื่อว่าเป็นผู้ทำวิจัยเอง ย่อมสามารถตอบคำถามเรื่องนี้ได้ดีที่สุด 

เกริ่นนำ

หลังจากที่ไม่ได้สนใจแวดวงวิชาการมานาน แต่เมื่อคิดว่าจะกลับมาเขียนบทความเพิ่มเติม เพราะในวิทยานิพนธ์ของตัวเองนั้นยังมีปัญหาอีกหลายส่วน (ที่จริงแล้วได้เขียนไปส่งรัฐศาสตร์สารเช่นกัน แต่อาจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา ก็บอกว่าสั้นไปให้ไปเขียนมาเพิ่มเติม แล้วก็ทิ้งร้างไป จนกระทั่งอาจารย์ชุติมา ประกาศวุฒิสารและอาจารย์สายัณห์ แดงกลม ทั้งสองคนพยายามไต่ถามความคืบหน้าเป็นระยะ)

ล่าสุดก็ไปค้นคว้าเพิ่มเติมว่ามีใครในไทยที่ทำเรื่องนี้เพิ่มเติมต่อจากที่ตัวเองเคยรวบรวมตอนทำวิทยานิพนธ์ จนกระทั่งพบว่ามีวิทยานิพนธ์ “ความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นแนวชายรักชาย (YAOI) และวิถีทางเพศของวัยรุ่นไทย” ของ ชยภัทร จินดาเลิศ ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสหวิชาเพศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาเดียวกันกับของตนเอง (“YAOI: การ์ตูนเกย์โดยผู้หญิงเพื่อผู้หญิง”)

ที่จริงตอนใกล้จบก็ได้ยินมาเช่นเดียวกันว่ามีรุ่นน้องทำในประเด็นนี้ แต่ก็ไม่ได้สนใจ และมั่นใจว่าไม่ได้พูดคุยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลใดๆ แน่นอนว่าการทำวิจัยประเด็นเดียวกันนั้น อาจจะไม่ต้องมีการติดต่อสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน แต่จำเป็นต้องเขียนถึง เพราะเกี่ยวข้องกับการอ้างอิงในส่วนของเนื้อหาที่จะเขียนถึงต่อไป

สิ่งที่ต้องการสำหรับการเขียนข้อสังเกตนี้ ไม่ได้ต้องการบอกว่าวิทยานิพนธ์ของตัวเองนั้น เป็นงานที่ดีที่สุดในการศึกษาประเด็นนี้ เพราะรู้ตัวดีว่ามีปัญหามากมาย เรียกได้ว่า “อาย” ที่จะเอาให้คนอื่นอ่านงานชิ้นนี้เลยทีเดียว หรือแม้กระทั่งจะให้สัมภาษณ์/ แสดงความคิดเห็น แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องการเปิดพื้นที่ให้มีการคำนึงถึง “จรรณยาธรรมในการวิจัย” โดยเฉพาะในส่วนของการกล่าวอ้างอิงถึง (ไม่ได้อ่านต้นฉบับ แต่ทำเสมือนตัวเองได้อ่านเอง มั่นใจได้อย่างไรว่า คนนั้นคัดลอก/แปล/สรุปมาถูกต้อง) หรือแม้กระทั่งการลอกผลงาน (ตัดแปะ/ ทำเสมือนศึกษาด้วยเอง)

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้กำหนดจรรยาบรรณนักวิจัยไว้

1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการนักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัยต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย และ มีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย (ที่มา: http://rd.vru.ac.th/convention.htm)

ทำไมถึงเป็นเพียงข้อสังเกตบางประการ เพราะไม่ได้รื้อค้นอย่างละเอียด เช่น ค้นว่าบรรณานุกรมทุกตัวที่ถูกอ้างถึงนั้น ได้นำมาใช้ในงานจริงหรือไม่ และใช้ได้ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้จะขอยกเป็นเพียงบางส่วนที่มีอยู่ในมือเท่านั้น

ข้อสังเกตนี้แบ่งออกเป็น 1) คำถามเบื้องต้น 2) ข้อสงสัยที่เหมือน/ แตกต่างจากงานของตัวเอง 3) บทสรุป

1) คำถามเบื้องต้น

1. เนื่องจากงานวิจัยเป็นเชิงปริมาณและมีการอ้างถึง “แบบสำรวจของผู้วิจัยกับกลุ่มที่อ่านการ์ตูนแนวชายรักชายในร้านหนังสือโดยสัดส่วนเทียบจากจำนวน 100 คนได้สัดส่วนของกลุ่มประชากรที่ต้องการสุ่มมีค่าที่ 0.20 (ชยภัทร, 2552: 34)” แต่ไม่มีภาคผนวกในส่วนนี้

ในความเห็นส่วนตัว ยังค่อนข้างมองว่าการหาประชากรที่แท้จริงลำบากมาก เนื่องจาก YAOI นั้นถูกตั้งคำถามว่าเป็นสื่อทางเพศ ดังนั้นแบบสำรวจจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ไม่มีรายละเอียดในส่วนนี้ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่และช่วงเวลาในการสำรวจว่าซ้อนทับหรือเกี่ยวเนื่องกับสถานที่/ช่วงเวลาในการเก็บข้อมูลอย่างไร สถานการณ์ในช่วงเวลาทั้งสองช่วงนั้นมีความเหมือน/แตกต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการกวาดล้างของภาครัฐ/ ภาพที่ถูกนำเสนอในสื่อมวลชน รวมกระทั่งสถานการณ์ของชุมชน YAOI

2.  ประชากรในการศึกษามีทั้งเพศสรีระชายและหญิง (ชยภัทร, 2552: 3, 42)

ในความเห็นส่วนตัว ถึงแม้ว่า YAOI นั้น มีทั้งผู้ผลิต/ บริโภค ทั้งเพศสรีระชาย/ หญิง และในคำจำกัดความที่ใช้ (ชยภัทร, 2552: 4)  นั้นก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นหนังสือที่มีเฉพาะเพศสรีระหญิงเท่านั้น หากแต่ความแตกต่างนี้ไม่ได้กล่าวถึงว่าทำไมต้องวิเคราะห์เพศสรีระชายด้วย เหมือนในกรอบแนวคิด (ชยภัทร, 2552: 40) ก็ไม่ได้ระบุว่าเพศสรีระส่งผลต่อการศึกษาอย่างไร? แล้วกลุ่มความหลากหลายทางเพศทำไมไม่ถูกนำมาศึกษาด้วย? ปัญหาของเพศสรีระชายมีผลต่อการเข้าถึงการ์ตูนหรือไม่?

3. อายุของประชากรที่เริ่มต้นตั้งแต่ 15-17 มีร้อยละ 50.4 ของประชากรที่ศึกษา (ชยภัทร, 2552: 42)

ในความเห็นส่วนตัว หากจะบอกว่าอายุ 15-17 นั้นไม่เหมาะสมกับการเข้าถึงสื่อทางเพศ ก็คงจะเป็นเรื่องตลกมาก ปัญหาในเรื่องนี้มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งประเภทการ์ตูนของ YAOI เอง มาตรการควบคุม/ ปฏิบัติทั้งภาครัฐ สังคม และคนภายในชุมชนเอง ซึ่งต้องย้อนกลับไปถึงนิยามของคำว่าสื่อทางเพศว่าแท้ที่จริงคืออะไรกันแน่ แล้วเส้นแบ่งของคำว่าเหมาะสม/ เข้าถึงได้คืออะไร? หากสื่อทางเพศมีแต่แง่ลบต่อสังคมแล้ว ทำไมถึงเกิดขึ้น/ มีอยู่

สิ่งที่น่าเสียดายสำหรับประชากรกลุ่มนี้ คือ ไม่มีข้อมูลรายละเอียดที่น่าสนใจเพิ่มเติม เช่น อายุ 15 แต่อ่าน/ เข้าถึงได้ก่อนหน้านั้นหรือเปล่า? สถานะเป็นเพียงผู้อ่านการ์ตูนแต่เพียงอย่างเดียว หรือสามารถเข้าถึงชุมชนระดับลึกได้มากกว่านี้?  

2) ข้อสงสัยที่เหมือน/ แตกต่างจากงานของตัวเอง

กรณีที่1

ชยภัทร, 2552: 7 ส่วนที่1

 P7P1

ญาณาธร, 2550: 16 ส่วนที่1

PaulP16P1

ในส่วนนี้มีการอ้างอิงถึง แต่ส่วนที่ขีดเส้นใต้ไว้หายไป ซึ่งการตัดต่อเช่นนี้ทำให้เข้าใจว่า การ์ตูน YAOI นั้น “ตลอดจนความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่ได้มีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจ” ทั้งที่ความหมายนั้นเป็นการกล่าวถึงการ์ตูน Kuso miso tekunikku ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างการ์ตูนที่นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้ชายของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ และกลุ่มผู้หญิงเท่านั้น

กรณีที่2

ชยภัทร, 2552: 7 ส่วนที่2

P7P2

ญาณาธร, 2550: 16-17

PaulP16P2 PaulP17P1

ในส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงถึง เสมือนหนึ่งไปอ่านต้นฉบับด้วยตนเอง แต่ภาษาที่ใช้จะเรียกว่าคัดลอกมาเลย แน่นอนว่าในส่วนของบรรณานุกรมมีกล่าวถึงแหล่งข้อมูลเบื้องต้นไว้ครบถ้วน แต่ส่วนที่หายไป คือ เชิงอรรถที่ทำไม YAOI ถึงถูกเรียกว่า เป็นการ์ตูนเกย์โดยผู้หญิงเพื่อผู้หญิง

กรณีที่3

ชยภัทร, 2552: 8, 82

P8 P82

ญาณาธร, 2550: 17-18

PaulP17P2 PaulP18

ในส่วนนี้มีการอ้างอิงถึง โดยตัดในส่วนข้อถกเถียงว่าเรื่องใดเป็น YAOI เรื่องแรกออกไป (กรอบสีแดง) สิ่งที่น่าสนใจ คือ งานของชยภัทรไม่มีเชิงอรรถรายละเอียดของ June นั้น ที่อ้างอิงมาจาก Schodt, 1996 (กรอบสีเขียว) แล้วก็ไม่ได้มีการอ้างอยู่ในความเป็นมาของหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นในไทย (ไม่ได้ค้นหาในส่วนอื่น เนื่องจากคิดว่าไม่น่าจะมีปรากฏในส่วนอื่น) แต่ในบรรณานุกรมกลับมีการระบุถึง Schodt, 1986 ไม่ใช่เล่ม 1996 (รายละเอียดของทั้งสองเล่มอยู่ที่ http://toshokanreview.blogspot.com/2010/01/manga-manga-world-of-japanese-comics.html และ http://toshokanreview.blogspot.com/2010/01/dreamland-japan-writings-on-modern.html )

กรณีที่4

ชยภัทร, 2550: 10, 77

P10 P77

ญาณาธร, 2550: 19

PaulP19

ชยภัทร ได้อ้างอิงถึง นันทขว้าง, 2545 แต่ไม่ปรากฏอยู่ในบรรณานุกรม แต่ที่น่าสนใจที่สุดในกรณีนี้ คือ ตัวเองได้อ้าง นิยพรรณ, 2540 และไม่ได้ระบุเลขหน้า ในส่วนของเชิงอรรถอธิบายคำว่า การรับวัฒนธรรมใหม่ เท่านั้น แต่การอ้างอิงของชยภัทร เสมือนหนึ่งว่า นิยมพรรณได้บอกว่า YAOI เป็นการรับวัฒนธรรมใหม่เข้ามาในสังคมไทย และไม่ได้ระบุเลขหน้าเช่นเดียวกัน (ชื่อ “นิยพรรณ” กลายเป็น “นิยมพรรณ” ไปได้แฮะ)

กรณีที่5

ชยภัทร, 2552: 10, 78, 79

p10p3

p78

p79

ญาณาธร, 2550: 20, 66

PaulP20 PaulP66

ชยภัทร ไม่ได้กล่าวถึง วิริยะ, 2542 และพัฒนา, 2546ก แต่ปรากฏอยู่ในบรรณานุกรม แต่สิ่งที่ตัวเองขำที่สุด คือ พัฒนา, 2546ก กลายเป็น พัฒนา, 2545 ซึ่งหากอ่านเนื้้อหาแล้วจะมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง จากเรื่องวัฒนธรรมกระแสนิยม กลายเป็นเรื่อง คนใน ไปได้ ขณะเดียวกันในส่วนของการอ้างอิง กุลภา ไม่เคยคิดเลยว่าจะสามารถย่อ/สรุปความออกมาเป็นภาษาเหมือนกันตรงทุกตัวอักษร

กรณีที่6

ชยภัทร, 2552: 10-11

p10p3 p11

ญาณาธร, 2550: 21-22

PaulP21 PaulP22

นอกเหนือไปจากว่ากลุ่มคนที่ชื่นชอบ YAOI ในไทยและต่างประเทศมีการรวมกลุ่มและภาษาที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นแล้ว ข้อสรุปว่า วิทยานิพนธ์นี้พยายามศึกษาอะไร ยังใช้ภาษาที่คล้ายกันมากแตกต่างกันเพียงตัวแปรตามเท่านั้นเอง

กรณีที่7

ชยภัทร, 2552: 12

p12

ญาณาธร, 2550: 30-31

PaulP30

PaulP31

ลักษณะการอ้างอิงเหมือนเดิม คือ ไม่มีการใช้ว่า “อ้างอิงมาจาก” ทำเสมือนตัวเองไปอ่านต้นฉบับเอง

3) บทสรุป

หลังจากที่ทอดระยะเวลามาระยะหนึ่ง ยอมรับว่าทำให้ตัวเองมี “สติ” มากขึ้น โดยส่วนตัวก็ยอมรับว่าชยภัทรได้ทำการศึกษาตามระเบียบการวิจัย หากแต่ส่วนที่จำเป็นต้องพาดพิง จนต้องนำมาเขียนลงในบลอคนั้น เนื่องจาก “จรรณยาบรรณในการวิจัย” ที่ทำเสมือนไปอ่านต้นฉบับด้วยตนเอง ไม่มีการระบุว่า “อ้างอิงใน/ อ้างอิงมาจาก” คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าการแปล/ ตีความเหล่านั้นถูกต้อง

ดังนั้น สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป นอกเหนือจากการเขียนข้อสังเกตลงในบลอคนี้แล้ว ก็ได้เมล์หาอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งสองคนก็ได้รับการตอบกลับมาว่า สมควรที่จะทำจดหมายเรียนประธานหลักสูตร/ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของชยภัทรต่อไป ซึ่งผลจะเป็นยังไงก็จะเขียนมาลงในบลอคให้ทราบความคืบหน้าต่อไป

เริ่มเขียน: 07 ม.ค. 57  

ปรับปรุงล่าสุด: 13 ม.ค. 57