รหัสโครงการ : RDG4730022
ชื่อโครงการ : โครงการวิจัยเพศและการสื่อสารในสังคมไทยระยะที่ 2
ชื่อนักวิจัย : วิลาสินี พิพิธกุล และกิตติ กันภัย
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
E-mail Address : Wilasinee.P@thaihealth.or.th
ระยะเวลาโครงการ : 1 มีนาคม 2547 – 28 กุมภาพันธ์ 2549
งานวิจัยเรื่องเพศและการสื่อสารในสังคมไทย (ระยะที่สอง) มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ความหมายเรื่องเพศ วาทกรรมทางเพศ การประกอบสร้างมายาคติทางเพศ รวมทั้งสภาพปัญหาและผลกระทบของการสื่อสารเรื่องเพศในสังคมไทย อันจะนำไปสู่การสังเคราะห์ความรู้เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา ทั้งในระดับนโยบายและระดับการผลิตการสื่อสารเรื่องเพศที่เหมาะสมต่อไป
วิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วาทกรรม การวิเคราะห์การเล่าเรื่อง และการวิเคราะห์สื่อด้วยวิธีสัญญวิทยา ข้อมูลหลักคือตัวบทจากสื่อวารสารสนเทศและสื่อมวลชน ได้แก่ อินเทอร์เน็ต สื่อนิตยสาร สื่อหนังสือการ์ตูน โฆษณาทางโทรทัศน์ ละครโทรทัศน์ และรายการเพลงทางโทรทัศน์ ในช่วงเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2547
ข้อค้นพบจากการวิจัยมี 6 ประการหลัก คือ
1. สื่อทุกประเภทที่นำมาศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโฆษณาสะท้อนมายาคติและวาทกรรมเพศวิถีที่เน้นการโหมเร้าอารมณ์ทางเพศด้วยการเสนอส่วนต่างๆ บนเรือนร่างมนุษย์ โดยเฉพาะเพศหญิงให้กลายเป็นความเซ็กซี่เกินความจริงตามธรรมชาติ มายาคติและวาทกรรมเหล่านี้ปฏิบัติการภายใต้กลไกการสื่อสารการตลาดและกลยุทธ์การโฆษณา ทำให้เกิดภาวะหลงใหลไปตามกระแสมายาคติซึ่งห่างไกลจากความเป็นจริงเกี่ยวกับเนื้อตัวและร่างกายมนุษย์ที่แท้
2. สื่อการ์ตูนแนวรักต่างเพศที่เลือกมาศึกษานำเสนอเรื่องเพศสัมพันธ์ที่โจ่งแจ้งเปิดเผย และเป็นเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้เน้นเรื่องอารมณ์ความรัก แต่เสนอเรื่องการเสพสังวาสอันเกิดจากสัญชาติญาณ ภาวะไร้สำนึก และแรงขับทางเพศของผู้ผลิตสื่อเป็นหลัก สะท้อนโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมระหว่างสองเพศ อย่างไรก็ตาม สำหรับการ์ตูนแนวรักเพศเดียวกันกลับนำเสนอแก่นเรื่องแนวความรักความผูกพันระหว่างตัวละครมากกว่า
3. วิธีการนำเสนอแบบเอดูเทนเมนต์ของสื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งมีลักษณะคล้ายสื่อการสอนแต่ผสมผสานความบันเทิงเข้าไว้ด้วย ทำให้เกิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้เรื่องเพศที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนหรือผู้แสวงหาความรู้ทั่วไป เว็บไซด์ยังเป็นสื่อที่ช่วยสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ รวมถึงชุมชนเสมือนของกลุ่มคนที่มีเพศวิถีคล้ายคลึงกันอีกด้วย
4. สื่อทุกประเภทนำเสนอเพศวิถีอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในมิติรสนิยมทางเพศ เพื่อคลี่คลายกรอบของเพศวิถีตามขนบเดิมที่มีเพียงความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายเท่านั้น ทั้งนี้โดยอาศัยกลไกทางการตลาดและโฆษณาที่เน้นการสร้างกลุ่มผู้บริโภคใหม่ๆ ผ่านระบบสัญลักษณ์และความหมายเฉพาะของกลุ่มทางเพศ
5. ขนบของการสื่อสารและวิธีการเล่าเรื่องในละคร โฆษณา และการ์ตูนทำให้เกิดอำนาจในการดำรงไว้ซึ่งโครงสร้างความสัมพันธ์แบบปิตาธิปไตยที่เพศชายเป็นผู้ชนะเสมอ การเล่าเรื่องในละครเน้นการลงโทษหรือกำจัดตัวละครผ่าเหล่าที่แสดงพฤติกรรมผิดเพี้ยนไปจากเพศสภาพตามที่สังคมชายเป็นใหญ่กำหนด ทั้งนี้เพื่อดำรงความสมดุลของระบบทางเพศเอาไว้
6. ความหมายเรื่องเพศที่จัดว่าเป็นความเชื่อแบบมายาคตินั้น เป็นความหมายที่สังคมรับรู้และห่างไกลจากความจริงไปทุกที มายาคตินี้ถูกกำหนดโดยวาทกรรมว่าด้วยความงามกับเพศสรีระ เพศวิถี และปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ในเรื่องเพศ การรับรู้บนฐานของมายาคติเช่นนี้จะนำมาซึ่งความรุนแรง การบริโภคที่เกินจริง การมีเพศสัมพันธ์ที่ผิดศีลธรรม การเสพติดทางเพศ ก่อให้เกิดอวิชชาทางเพศ อันอาจจะนำไปสู่ความเสื่อมและการล่มสลายของมนุษย์และสังคมได้
ผลการวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอแนะสำคัญสำหรับรัฐ สื่อ ภาคประชาชนผู้บริโภคสื่อ และภาควิชาการ ได้แก่ การเตรียมพื้นที่สาธารณะให้เป็นเวทีในการนำเสนอเรื่องเพศที่หลากหลาย กระบวนการไต่สวนวาทกรรมและมายาคติเพื่อรื้อถอนโครงสร้างและชุดความหมายเรื่องเพศเดิม การทบทวนกระบวนทัศน์ หลักปรัชญา และจริยธรรมการตลาด การสร้างกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมบนฐานของการสร้างความรู้ใหม่ การเร้าสำนึกของผู้ผลิตสื่อให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่องแบบเดิม กระบวนการสร้างและพัฒนากลไกในการกำกับดูแลกระบวนการสื่อสารเรื่องเพศในสังคมไทย และการสร้างทักษะการสื่อสารให้กับผู้เชี่ยวชาญเรื่องเพศศึกษา
คำหลัก: เพศ การสื่อสารเรื่องเพศ สื่อทางเพศ วาทกรรมเพศ วัฒนธรรมเพศไทย
ที่มา: http://www.trf.or.th/research/abstract/Thai/RDG4730022.txt
วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2551
Sex & Gender
การประชุมเชิงปฏิบัติการของกองทุนสหประชาชาติ เรื่อง Gender, Population and Development ใน ค.ศ.1996 (The Population Council, 1996) นิยามความหมายของคำว่า Sex และ Gender ดังนี้ Sex หมายถึง เพศที่กำหนดขึ้นโดยธรรมชาติ และข้อกำหนดทางสภาวะทางชีววิทยา ซึ่งเปลี่ยนแปลงไม่ได้ (ยกเว้นการผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพียงบางส่วน) ให้บุคคลเกิดมามีเพศเป็นหญิงหรือชาย มีหน้าที่ในการให้กำเนิด (Reproductive function) และมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ส่วน Gender หมายถึง เพศที่กำหนดโดยเงื่อนไขทางสังคมหรือวัฒนธรรมให้แสดงบทบาทหญิงหรือบทบาทชาย ดังนั้นเพศที่ถูกกำหนดโดยสังคมนี้จึงอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวการณ์และเงื่อนไขของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่าบทบาทดังกล่าวส่วนใหญ่ถูกกำหนดขึ้นโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความแตกต่างทางสรีระของคนทั้งสองเพศก็ตาม แต่บทบาททางสังคมเหล่านี้เป็นสิ่งที่บุคคลได้เรียนรู้ผ่านแหล่งต่างๆ มาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งกลายเป็นแนวคิดที่ปลูกฝังลึกซึ้งในตัวของบุคคลนั้นๆ บทบาทเพศทางสังคม (Gender roles) ในลักษณะนี้จึงแตกต่างกันไปในสังคมแต่ละวัฒนธรรม นอกจากนี้ บทบาทที่สังคมกำหนด มีความหมายเกี่ยวพันไปถึงโอกาสที่บุคคลแต่ละเพศสามารถเข้าถึง ได้ใช้ และควบคุมทรัพยากรต่างๆ เพราะมีสิทธิ อำนาจ ความรับผิดชอบ และถูกคาดหวังจากสังคมต่างกันไป ส่วนที่สำคัญคือ บทบาทเพศที่สังคมกำหนดได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสถานภาพของหญิงและชายในสังคมนั้นๆ
ที่มา: ภัสสร ลิมานนท์. 2544. บทบาทเพศ สถานภาพสตรี กับการพัฒนา. ปรับปรุงใหม่ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 28
ที่มา: ภัสสร ลิมานนท์. 2544. บทบาทเพศ สถานภาพสตรี กับการพัฒนา. ปรับปรุงใหม่ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 28
Manga
การ์ตูนญี่ปุ่นมีคำเรียกที่หลากหลาย เช่น
1) โทบะเอะ (Tobae: Toba pictures) ตามชื่อของพระภิกษุที่วาดการ์ตูนโชจูจิกะ (Chojugiga: Animal scrolls) เกี่ยวกับกระต่าย ลิง จิ้งจอก และกบเพื่อล้อเลียนรูปแบบการปกครองและศาสนาในศตวรรษที่ 12
2) กิกะ (Giga: Playful pictures)
3) เคียวกะ (Kyoga: Crazy pictures)
4) ปอนจิเอะ (Ponchie: Punch pictures)
5) มังงะ (Manga) โดยคำนี้เริ่มได้รับความนิยมตั้งแต่ ค.ศ. 1890 เป็นต้นมา
ที่มา: Schodt, Frederik L. 1986. Manga! Manga! The world of Japanese comics. New York: Kodansha International Ltd.
1) โทบะเอะ (Tobae: Toba pictures) ตามชื่อของพระภิกษุที่วาดการ์ตูนโชจูจิกะ (Chojugiga: Animal scrolls) เกี่ยวกับกระต่าย ลิง จิ้งจอก และกบเพื่อล้อเลียนรูปแบบการปกครองและศาสนาในศตวรรษที่ 12
2) กิกะ (Giga: Playful pictures)
3) เคียวกะ (Kyoga: Crazy pictures)
4) ปอนจิเอะ (Ponchie: Punch pictures)
5) มังงะ (Manga) โดยคำนี้เริ่มได้รับความนิยมตั้งแต่ ค.ศ. 1890 เป็นต้นมา
ที่มา: Schodt, Frederik L. 1986. Manga! Manga! The world of Japanese comics. New York: Kodansha International Ltd.
Dojinshi
สื่อที่ไม่ได้เผยแพร่ผ่านช่องทางที่เป็นทางการ หรือ โดจินชิ (Dojinshi) นั้น โดยส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าโดจินชิ เป็นเพียงการ์ตูนหรือภาพล้อที่ผลิตและเผยแพร่โดยไม่ได้ผ่านสำนักพิมพ์เท่านั้น แท้จริงแล้วโดจินชินั้น มีความหมายครอบคลุมถึงวรรณกรรม การ์ตูน และผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ที่มีลักษณะไม่ทางการ เช่น บลอค (Blog) ซีดี (CD) สำเนาเอกสาร ฯลฯ
ที่มา: http://ja.wikipedia.org/wiki/
ได้รับการอนุเคราะห์จาก Nongrata แปลมาให้เจ้าค่ะ
ที่มา: http://ja.wikipedia.org/wiki/
ได้รับการอนุเคราะห์จาก Nongrata แปลมาให้เจ้าค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)