ประเทศญี่ปุ่นประกอบด้วยเกาะใหญ่ 4 เกาะ คือ ฮอกไกโด (Hokkaido) ฮอนชู (Honshu) ชิโกกุ (Shikoku) และ คิวชู (Kyushu) รวมทั้งเกาะเล็กๆ ใกล้เคียงอีก 7,000 กว่าเกาะ
รูปแบบการบริหารประเทศจะมีลักษณะเป็นการปกครองแบบภูมิภาค โดยภูมิภาคทั้งแปดนั้น สามภูมิภาคมาจากเกาะใหญ่ คือ ฮอกไกโด ชิโกกุ และคิวชู โดยเกาะฮอนชูนั้นแบ่งออกเป็นห้าภูมิภาค คือ โทโฮคุ (Tohoku) คันโต (Kanto) ชูบุ (Chubu) คิงคิ (Kinki) และชูโกะกุ (Chugoku)
ภูมิภาคเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นซีกตะวันออกและตะวันตก โดยรูปแบบในการแบ่งภูมิภาคว่าภูมิภาคใดเป็นภูมิภาคตะวันออกหรือตะวันตกนั้น นิยมใช้การลากเส้นแบ่งจากอ่าวอิเสะ (Ise) บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังอ่าววาคาซะ (Wakasa) บนชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น และการแบ่งด้านตะวันออกและตะวันตกของภูเขาฟูจิ หรือที่เรียกว่า ฮาโกเน่ (Hakone Checkpoint) ที่เปรียบเสมือนจุดยุทธศาสตร์ในการเดินทัพสมัยโตกุกาวา (Tokugawa) จากเอโดะ (Edo) ซึ่งปัจจุบันคือโตเกียว (Tokyo) ถึงเกียวโต (Kyoto)ซีกตะวันออกจึงประกอบด้วยชูบุ คันโต โทโฮคุ และฮอกไกโด ซึ่งนับว่าเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาขึ้นมาภายหลังการปฏิรูปเมจิ (Meiji) ค.ศ. 1868 ซึ่งเป็นการเปิดประเทศต่อประเทศตะวันตกและสิ้นสุดการปกครองรูปแบบโชกุน (Shogun) ส่วนซีกตะวันตกประกอบด้วยคิวชู ชิโกกุ ชูโกะกุ และคิงกิ ซึ่งล้วนแต่เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีต
โดยภูมิภาคหลักที่ได้กล่าวถึงใน Claw of the dragon เล่มนี้นั้นประกอบด้วยภูมิภาคคันโตและคิงกิ หรือที่เรียกกันว่า คันไซ (Kansai) นั่นเองภูมิภาคคันโตเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบันคือโตเกียว โดยคำว่า คันโต หมายถึง ป้อมปราการทิศตะวันออก ซึ่งหมายถึงทิศตะวันออกของฮาโกเน่ ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ ดังนี้ กุมมะ (Gunma) โทะชิงิ (Tochigi) อิบะรากิ (Ibaraki) ไซตามะ (Saitama) โตเกียว ชิบะ (Chiba) และคะนะงาวา (Kanagawa) ภูมิภาคคันโตเป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น จึงเป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่น และศูนย์กลางของการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมตั้งแต่หลังการปฏิรูปเมจิที่มีการย้ายเมืองหลวงมาเป็นโตเกียว
ภูมิภาคคิงกิ หรือคันไซ เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเก่าทั้ง นารา (Nara) และเกียวโต (Kyoto) สอดคล้องกับการอ่านออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นอีกแบบหนึ่งของคิงกิว่า มิยาโกะ (Miyako) ซึ่งหมายถึง เมืองหลวง โดยคำว่าคิงกิหมายถึง เมืองที่อยู่ใกล้เคียงเมืองหลวง หากแต่คำว่าคันไซนั้น หมายถึง ทิศตะวันตกของฮาโกเน่ ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ ดังนี้ นารา เกียวโต วาคายามา (Wakayama) มิเอะ (Mie) โอซาก้า (Osaka) เฮียวโง (Hyogo) และชิงะ (Shiga) ภูมิภาคคิงกิเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญมากตั้งแต่อดีต ทั้งทางด้านการเมืองและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาราที่เป็นเมืองหลวงถาวรแห่งแรกของญี่ปุ่น เนื่องจากในอดีตจะมีการย้ายเมืองหลวงหลังการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์แต่ละพระองค์เพื่อหลีกเลี่ยงความตายตามความเชื่อของศาสนาชินโต (Shinto) และเกียวโตที่เป็นเมืองหลวงเก่า จนกระทั่งย้ายเมืองหลวงไปโตเกียว ทำให้ภูมิภาคนี้จึงให้ความสำคัญทางด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน การเกษตรกรรม ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คน
ถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจรายละเอียดลองไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ยุพา คลังสุวรรณ, 2547. ญี่ปุ่นสร้างชาติด้วยความรักและภักดี: ภูมิหลังทางวัฒนธรรมของสังคมญี่ปุ่น. สำนักพิมพ์มติชน. หรือ Kodansha International Ltd., 1994. Japan: Profile of a nation. Kodansha International Ltd. นะคะ
รูปแบบการบริหารประเทศจะมีลักษณะเป็นการปกครองแบบภูมิภาค โดยภูมิภาคทั้งแปดนั้น สามภูมิภาคมาจากเกาะใหญ่ คือ ฮอกไกโด ชิโกกุ และคิวชู โดยเกาะฮอนชูนั้นแบ่งออกเป็นห้าภูมิภาค คือ โทโฮคุ (Tohoku) คันโต (Kanto) ชูบุ (Chubu) คิงคิ (Kinki) และชูโกะกุ (Chugoku)
ภูมิภาคเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นซีกตะวันออกและตะวันตก โดยรูปแบบในการแบ่งภูมิภาคว่าภูมิภาคใดเป็นภูมิภาคตะวันออกหรือตะวันตกนั้น นิยมใช้การลากเส้นแบ่งจากอ่าวอิเสะ (Ise) บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังอ่าววาคาซะ (Wakasa) บนชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น และการแบ่งด้านตะวันออกและตะวันตกของภูเขาฟูจิ หรือที่เรียกว่า ฮาโกเน่ (Hakone Checkpoint) ที่เปรียบเสมือนจุดยุทธศาสตร์ในการเดินทัพสมัยโตกุกาวา (Tokugawa) จากเอโดะ (Edo) ซึ่งปัจจุบันคือโตเกียว (Tokyo) ถึงเกียวโต (Kyoto)ซีกตะวันออกจึงประกอบด้วยชูบุ คันโต โทโฮคุ และฮอกไกโด ซึ่งนับว่าเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาขึ้นมาภายหลังการปฏิรูปเมจิ (Meiji) ค.ศ. 1868 ซึ่งเป็นการเปิดประเทศต่อประเทศตะวันตกและสิ้นสุดการปกครองรูปแบบโชกุน (Shogun) ส่วนซีกตะวันตกประกอบด้วยคิวชู ชิโกกุ ชูโกะกุ และคิงกิ ซึ่งล้วนแต่เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีต
โดยภูมิภาคหลักที่ได้กล่าวถึงใน Claw of the dragon เล่มนี้นั้นประกอบด้วยภูมิภาคคันโตและคิงกิ หรือที่เรียกกันว่า คันไซ (Kansai) นั่นเองภูมิภาคคันโตเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบันคือโตเกียว โดยคำว่า คันโต หมายถึง ป้อมปราการทิศตะวันออก ซึ่งหมายถึงทิศตะวันออกของฮาโกเน่ ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ ดังนี้ กุมมะ (Gunma) โทะชิงิ (Tochigi) อิบะรากิ (Ibaraki) ไซตามะ (Saitama) โตเกียว ชิบะ (Chiba) และคะนะงาวา (Kanagawa) ภูมิภาคคันโตเป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น จึงเป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่น และศูนย์กลางของการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมตั้งแต่หลังการปฏิรูปเมจิที่มีการย้ายเมืองหลวงมาเป็นโตเกียว
ภูมิภาคคิงกิ หรือคันไซ เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเก่าทั้ง นารา (Nara) และเกียวโต (Kyoto) สอดคล้องกับการอ่านออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นอีกแบบหนึ่งของคิงกิว่า มิยาโกะ (Miyako) ซึ่งหมายถึง เมืองหลวง โดยคำว่าคิงกิหมายถึง เมืองที่อยู่ใกล้เคียงเมืองหลวง หากแต่คำว่าคันไซนั้น หมายถึง ทิศตะวันตกของฮาโกเน่ ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ ดังนี้ นารา เกียวโต วาคายามา (Wakayama) มิเอะ (Mie) โอซาก้า (Osaka) เฮียวโง (Hyogo) และชิงะ (Shiga) ภูมิภาคคิงกิเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญมากตั้งแต่อดีต ทั้งทางด้านการเมืองและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาราที่เป็นเมืองหลวงถาวรแห่งแรกของญี่ปุ่น เนื่องจากในอดีตจะมีการย้ายเมืองหลวงหลังการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์แต่ละพระองค์เพื่อหลีกเลี่ยงความตายตามความเชื่อของศาสนาชินโต (Shinto) และเกียวโตที่เป็นเมืองหลวงเก่า จนกระทั่งย้ายเมืองหลวงไปโตเกียว ทำให้ภูมิภาคนี้จึงให้ความสำคัญทางด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน การเกษตรกรรม ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คน
ถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจรายละเอียดลองไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ยุพา คลังสุวรรณ, 2547. ญี่ปุ่นสร้างชาติด้วยความรักและภักดี: ภูมิหลังทางวัฒนธรรมของสังคมญี่ปุ่น. สำนักพิมพ์มติชน. หรือ Kodansha International Ltd., 1994. Japan: Profile of a nation. Kodansha International Ltd. นะคะ