วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551

นิธิกับโพสต์โมเดริ์น

อย่างไรก็ตาม จะมีคำถามเกิดขึ้นในใจของผู้อ่านงานประเภทนี้ นั่นคือ “แล้วยังไง?” เหมือนการอ่านงานในสำนักคิด “หลังสมัยใหม่” ทั่วไป ในทัศนะของผู้เขียนคำนำ นี่เป็นคำถามที่ห้ามถาม เพราะจุดมุ่งหมายหลักของสำนักคิดนี้ไม่ต้องการจะสถาปนา “ความจริงใหม่” ขึ้นแทนที่ “ความจริงเก่า” ต้องการเพียงตรวจสอบทั้งข้อมูล ข้อสรุป ฐานคิดของสิ่งที่เชื่อกันว่าเป็น “จริง” อย่างไม่ต้องสงสัยทั้งหลายเท่านั้น การสร้างความสงสัยแก่ข้อสรุปที่ถูกว่า “จริง” เหล่านั้น ช่วยปลดปล่อย ผู้คนจากอำนาจนานาชนิดที่ครอบงำตนเองอยู่โดยไม่รู้สึกตัว
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (๒๕๕๑: คำนำเสนอ)

นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2551. คำนำเสนอ. ใน ทวีศักดิ์ เผือกสม. เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม: ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551

นิยาม Eugenics

คำว่า Eugenics ถูกใช้ครั้งแรกโดย Francis Galton ใน Herbert Spencer Lecture ที่บรรยาย ณ Oxford University เมื่อปี ค.ศ. 1907 Galton ใช้ Eugenics ในความหมายของศาสตร์แห่งการปรับปรุงกลุ่มประชากรให้มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดี Galton ใช้คำนี้แทน Virculture ในความหมายที่มีนัยยะเดียวกัน ในประเทศอังกฤษ Eugenic Education Society ได้ถูกก่อตั้งในปี ค.ศ. 1907 เพื่อที่จะสนับสนุนให้ Eugenics มีความสำคัญในระดับชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับพ่อแม่และผู้ปกครอง (Oakley, 1991: 166-167 อ้างใน ก้องสกล กวินรวีสกุล, 2545: 31, เชิงอรรถที่ 16)

แต่ทำไมหาใน wikipedia กลับบอกว่า Galton ใช้คำนี้เป็นครั้งแรกในหนังสือ Inquiries into Human Faculty and Its Development ค.ศ. 1883 ซึ่งเขาได้หมายถึง "to touch on various topics more or less connected with that of the cultivation of race, or, as we might call it, with 'eugenic' questions." พร้อมเชิงอรรถ “Eugenic”:
That is, with questions bearing on what is termed in Greek, eugenes namely, good in stock, hereditary endowed with noble qualities. This, and the allied words, eugeneia, etc., are equally applicable to men, brutes, and plants. We greatly want a brief word to express the science of improving stock, which is by no means confined to questions of judicious mating, but which, especially in the case of man, takes cognizance of all influences that tend in however remote a degree to give to the more suitable races or strains of blood a better chance of prevailing speedily over the less suitable than they otherwise would have had. The word eugenics would sufficiently express the idea; it is at least a neater word and a more generalized one than viticulture which I once ventured to use.

ต่อมาในค.ศ. 1904 เขาได้ให้คำนิยาม Eugenics ว่า "the science which deals with all influences that improve the inborn qualities of a race; also with those that develop them to the utmost advantage.”

สิ่งที่ต้องทำต่อไป กลับไปหางานของ Oakley

บรรณานุกรม

ก้องสกล กวินรวีกุล. 2545. การสร้างร่างกายพลเมืองไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2481-2487. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (มานุษยวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Oakley, Ann. 1991. “On Anti-Medicine and Clinical Reason” in Reassessing Foucault: Power, Medicine and the body. Colin Jones and Roy Porter (eds.) London: Routledge.

http://en.wikipedia.org/wiki/Eugenics