วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การประชุมวิชาการห้องย่อยภาษาไทย

การประชุมวิชาการห้องย่อยภาษาไทย ในการประชุมนานาชาติ
“เพศวิถี เพศภาวะ และสิทธิในเอเชีย : การประชุมนานาชาติครั้งแรกว่าด้วยเรื่องเควียร์ศึกษา”
(Sexualities, Genders, and Rights in Asia, 1st International Conference of Asian Queer Studies)
จัดโดยโครงการจัดตั้งสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
และเครือข่ายเควียร์แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
ระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2548
ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร

ชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยร่วมกันจัดเวทีคู่ขนานภายใต้สาระสำคัญหลักเรื่องสิทธิและการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยทางวิถีชีวิตทางเพศในประเทศไทย โดยประเด็นต่าง ๆ นั้นจะถูกจัดไว้ในห้องย่อยแต่ละห้องรวม 7 ห้อง ซึ่งในแต่ละห้องจะมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการ การให้ความเห็นจากนักวิชาการรับเชิญ และการร่วมแลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วม ภายในระยะเวลา 90 – 120 นาที

ภาพสะท้อนความหลากหลายทางเพศในสื่อมวลชน: REFLECTIONS OF SEXUAL DIVERSITY FROM THE THAI MASS MEDIA
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2548 เวลา: 11.00 – 12.30 น.
ผู้นำเสนอ จิตติมา ภาณุเตชะ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง
ผู้อภิปรายหลัก วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินรายการ รศ. ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหา การสร้าง และ การนำเสนอภาพลักษณ์ การทำให้สังคมเข้าใจภาพของผู้คนที่มี ความหลากหลายทางเพศ ผ่านทางสื่อ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้เรื่องภาพลักษณ์ บทบาท พื้นที่ของผู้ที่มี ความหลากหลายทางเพศ สำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเอง และ คนทั่วไป เป็นที่น่าสนใจว่า เนื้อหาอะไรที่ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอ และสร้างให้เกิดความรู้สึกอย่างไรต่อผู้ที่ได้รับสื่อดังกล่าว และมีผลกระทบอย่างไรต่อการอยู่ร่วมระหว่างผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และ คนทั่วไปในสังคม

การลื่นไหลของอัตลักษณ์ทางเพศ: THE FLUIDITY OF SEXUALITY IN THAILAND
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2548 เวลา: 13.30 – 15.30 น.
สนับสนุนโดย ภาคีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ
ผู้จัดการประชุม รณภูมิ สามัคคีคารมย์
เรื่องที่ 1 Life with a Badge: Identity and Sexuality of Gay “Quing” in Sauna M โดย จตุพร บุญหลงเรื่องที่ 2 Holistic health through lived experience of self identity in homosexual men: A meta-synthesis โดย พรเทพ แพรขาว
ผู้ดำเนินรายการ เปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา
เนื้อหา การเปลี่ยนแปลงด้านอัตลักษณ์ทางเพศที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลด้วยเหตุต่างๆ ตามประสบการณ์การเรียนรู้ เช่น การรู้สึกว่าเปลี่ยนแปลงจากชาย เป็นหญิง การเปลี่ยนแปลงในบทบาททางเพศในรูปแบบต่างๆ การรู้สึกต่อบทบาทและความคาดหวังในบทบาทของตนเองต่อคู่ เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อสังคมปัจจุบันยอมรับความหลากหลายในการดำเนินชีวิต และมีพื้นที่ในการแสดงออก และทดลอง การแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จำกัดอยู่กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ บุคคลทั่วไปก็สามารถรู้สึกถึงประสบการณ์เช่นนี้ และเมื่อบุคคลหนึ่งเกิดความรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะมีการปรับตัวต่อความรู้สึกเปลี่ยนแปลงในตนเองอย่างไร รวมถึงการได้รับการยอมรับจากสังคมรอบข้าง

จับตามิติสุขภาพของคนรักเพศเดียวกัน: HEALTH CONCERNS OF SAME-SEX RELATIONSHIP
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2548 เวลา: 10.30 – 12.30 น.
สนับสนุนโดย Population Service International
ผู้นำเสนอ ศ.นพ.สุพร เกิดสว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล
ระพีพันธ์ จอมมะเริง สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
สิทธิพันธ์ บุญญาภิสมภาร Population Service International
ณัฐยา บุญภักดี มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง
ผู้ดำเนินรายการ รศ.ดร. กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหา รูปแบบการจัดบริการ ทัศนะคติของเจ้าหน้าที่ ข้อจำกัดของการให้บริการต่างๆทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการและคุณภาพชีวิตของผู้ทีมีความหลากหลายทางเพศ เช่น ประเด็น การแพร่ระบาด และการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การผ่าตัดแปลงเพศ และกระบวนการที่เกี่ยวข้อง

การเมืองเรื่องความหลากหลายทางเพศ: POLITICS OF SEXUAL DIVERSITY
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2548 เวลา: 13.30 – 15.30 น.
ผู้นำเสนอ ณัฐยา บุญภักดี มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง
ผู้อภิปรายหลัก ผศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ดำเนินรายการ สุไลพร ชลวิไล
เนื้อหา การปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้านกฎหมายของสังคมเพื่อให้รองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศ และ วิถีชีวิตของกลุ่มคนดังกล่าว เช่น การประกันชีวิต มรดก การเปลี่ยนคำนำหน้าสถานภาพบุคคล (การยอมรับสถานภาพทางกฎหมายในฐานะคู่ชีวิตในรูปแบบต่างๆ)

ศาสนาและคนรักเพศเดียวกัน: RELIGIONS AND SAME-SEX RELATIONSHIP IN THAI CONTEXT
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2548 เวลา: 09.00 – 10.30 น.
ผู้เรียบเรียง พระวรธรรม
เรื่องที่ 1 บันเฑาะก์คือรักเพศเดียวกัน : การตีความแบบคลุมถุงชน
เรื่องที่ 2 โสเรยยะ : ปรากฏการณ์ข้ามเพศในพระไตรปิฎก
ผู้นำเสนอ รณภูมิ สามัคคีคารมย์
ประสงค์ กิตตินันทชัย
ผู้ดำเนินรายการ วิทยา แสงอรุณ
เนื้อหา การตีความปรัชญา และ หลักคิดของศาสนาพุทธที่เกี่ยวกับคนรักเพศเดียวกัน และ เพศที่หลากหลาย โดยการนำเอาเรื่องราวพุทธปรัชญามาศึกษา วิเคราะห์ และ นำเสนอแนวคิดการตีความที่แตกต่างออกไป เพื่อสร้างให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย ต่อความกว้างขวางลึกซึ้งของพุทธปรัชญา และ การวิเคราะห์ถึง คำสอนที่ได้รับการถ่ายทอดกันต่อๆมาของพุทธศาสนาว่า มีหลักคิดเบื้องหลังอย่างไร ส่งผลต่อความรู้สึกต่อตนเองของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และ การอยู่ร่วมในสังคมอย่างไร

ชุมชนของคนรักเพศเดียวกัน: THE THAI GLBT COMMUNITY
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2548 เวลา: 11.00 – 12.30 น.
ผู้นำเสนอ สุไลพร ชลวิไล
กมลเศรษฐ เก่งการเรือ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
ผู้อภิปรายหลัก ผศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ดำเนินรายการ รศ.ดร. กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหา รูปแบบการก่อรูปของสังคม และชุมชนของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศโดย มีรูปแบบต่างๆ เช่น การพบปะกันในสังคมเสมือน (Virtual society) เช่น ในอินเตอร์เน็ต หรือ ในสังคมจริง เช่น การรวมตัวกันเป็นองค์กร เป็นกลุ่ม ในรูปแบบต่างๆ สมาคม และ การจัดงานเพื่อการพบปะสังสรรค์เป็นประจำ หรือ แม้แต่ กลุ่มเพื่อนที่มีความหลากหลายทางเพศแนวทางเดียวกัน ในชนบทและเมือง เหล่านี้ต่างมีรูปแบบแตกต่างกันไป ในการรวมตัว แต่มีความเหมือนกันในด้านการแสวงหาการยอมรับ การแลกเปลี่ยน การเรียนรู้ การสร้างวัฒนธรรมย่อย และพื้นที่ทางสังคม เพื่อให้เกิดความรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม อย่างปกติสุข และไม่แปลกแยก โดดเดี่ยว

ภาษาในแวดวงหญิงรักหญิงไทย: THE VOCABULARY: TERMINOLOGY WE USE IN WOMEN WHO LOVE WOMEN
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2548 เวลา: 13.30 – 15.30
ผู้นำเสนอ Megan Sinnott
ผู้ดำเนินรายการ สุไลพร ชลวิไล
เนื้อหา ภาษาสะท้อนแนวคิด ภาพลักษณ์ของสังคมต่อบทบาท สถานะ อัตลักษณ์ทางเพศและความสัมพันธ์ทางเพศที่หลากหลาย สะท้อนความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของแนวคิดของสังคมสังคมต่อ ความหลากหลายทางเพศ การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่องเพศของคนในสังคม สะท้อนทั้งแนวคิดของคนที่อยู่ในกระแสหลัก และ คนที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นกระแสรองในวิถีชีวิตทางเพศ การศึกษาภาษา ตลอดจนการสร้างภาษาเพื่อใช้ จึงกลายเป็นสิ่งที่สำคัญต่อความเข้าใจ และ การนำสู่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดของสังคมต่อเรื่องเพศ เพื่อสะท้อนความเป็นจริงที่ชัดเจน ปราศจากอคติ และมีความเคารพศักดิ์ศรีและสร้างแนวทางการอยู่ร่วมกันระหว่างคนในสังคมซึ่งมีเพศสภาพที่หลากหลาย

YAOI Fans As ‘Queer’ Women in Japan

YAOI Fans As ‘Queer’ Women in Japan
Akiko Mizoguchi

บทคัดย่อในงานการประชุมวิชาการQueering of Our Own: Queer Practices of Japanese Women ในการประชุมนานาชาติ “เพศวิถี เพศภาวะ และสิทธิในเอเชีย: การประชุมนานาชาติครั้งแรกว่าด้วยเรื่องเควียร์ศึกษา” (Sexualities, Genders, and Rights in Asia, 1st International Conference of Asian Queer Studies) จัดโดยโครงการจัดตั้งสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายเควียร์แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร

Starting in the early 1960s, YAOI fictions, male homosexual comics and illustrated novels created by women for women in Japan, cater to at least half a million women today. Through many stronger works of the 1960s and 1970s have proven to be crossover hits with readers of both genders, more recent YAOI comics and illustrated novels which feature explicit depiction of male homosexual acts have excluded straight male. Today over 95% readers and 100% writers and artists are women for YAOI genre as a whole, and as such, YAOI provides a female gendered and fully sexualized discursive space. What female YAOI fans communicated in this space through the representations of male homosexual romance narratives are their sexual desires and fantasies. Regardless of their sexual identities such as straight, lesbian, bisexual and others, these women operate in the YAOI space together. For example, a married woman who reads YAOI fictions and shares her fantasies with other YAOI fans on a daily basis, and claims that such acts feel more ‘sexual’ than her actual sex acts is not at all rare. Instead of calling these women straight women who like YAOI fictions, or women who belong to ‘lesbian continuum’ with lesbian fans of YAOI fictions, this paper proposes to call them ‘queer.’ By examining women’s words from magazines, face-to-face interviews and email correspondences, this paper explores this ‘queerness’ that exceeds conventional categories of sexual orientations in the hope of expanding the discussions of women’s ‘queer’ sexualities in contemporary Japan.

นับตั้งแต่ช่วงปลายของทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา YAOI การ์ตูนและนิยายที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้ชายเริ่มผลิตขึ้นโดยผู้หญิงเพื่อผู้หญิงจำนวนเกือบห้าแสนคนในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 กลุ่มผู้บริโภค YAOI ประกอบด้วยผู้ชายและผู้หญิง แต่เมื่อไม่นานมานี้ YAOI เน้นการบรรยายเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้ชายมากขึ้น ปัจจุบันกลุ่มผู้อ่านประมาณ 95% และผู้ผลิตทั้งหมดต่างเป็นผู้หญิง ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า YAOI เป็นพื้นที่สำหรับผู้หญิงในการแสดงออกทางด้านเพศสภาวะ อัตลักษณ์ทางเพศ ไม่ว่าจะเป็น รักต่างเพศ หญิงรักหญิง รักสองเพศ หรืออะไรก็ตาม ผู้หญิงเหล่านี้ต่างมีพื้นที่ในการแสดงออกผ่านทาง YAOI ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่สมรสแล้วสามารถแบ่งปันจินตนาการทางเพศกับผู้ที่ชื่นชอบ YAOI คนอื่น ๆ ซึ่งอาจจะทำให้เธอมีความสุขมากกว่าการมีเพศสัมพันธ์ในชีวิตสมรส หรือความสัมพันธ์ในกลุ่มหญิงรักหญิง โดยกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภคในการศึกษานี้จะเรียกว่า ‘Queer’ การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษารวบรวมจากเอกสาร การสัมภาษณ์รายบุคคล และการสนทนาผ่านจดหมายอิเลคทรอนิกส์ ผลการศึกษานี้จึงเป็นการสำรวจปรากฏการณ์ทางเพศวิถีและการศึกษาทางด้านเพศสภาวะของผู้หญิงชาวญี่ปุ่นในปัจจุบัน โดยใช้แนวคิด Queer Theory ในการวิเคราะห์

Queer Eye for the Japanese Guy?

Queer Eye for the Japanese Guy?
Commodified Male Sexuality in a Tokyo Host Club
Akiko Takeyama

บทคัดย่อในงานการประชุมวิชาการConsuming Sexในการประชุมนานาชาติ “เพศวิถี เพศภาวะ และสิทธิในเอเชีย: การประชุมนานาชาติครั้งแรกว่าด้วยเรื่องเควียร์ศึกษา” (Sexualities, Genders, and Rights in Asia, 1st International Conference of Asian Queer Studies) จัดโดยโครงการจัดตั้งสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายเควียร์แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร


The new American TV show, Queer Eye for the Straight Guy, has highlighted the aestheticization of heterosexual men by queer men. The so-called ‘metrosexual’ phenomenon points to straight men who spend an inordinate amount of time and money on beautifying their appearance and who are ‘willing to embrace their feminine side.’ However, this is nothing new in Japan. Straight men have been beautifying themselves and embracing, even flaunting, their feminine side since the late 1980s. This phenomenon is particularly evident in Tokyo’s host clubs where young Japanese men ‘host’ female customers. These clubs are lavish, female-friendly spaces where male hosts invest heavily in their appearance, using slim bodies, trendy hairstyles and expensive designer suits to attract female customers. It is also a phenomenon that occurs entirely independently of gay influence. This paper demonstrates how the rapidly expanding market for men’s fashion and aesthetics, as well as the growth of urban consumer space such as host clubs, have allowed for a freer expression of men’s beauty and an increase in social tolerance for men’s ‘feminine’ side. By exploring male beautification practices in the context of Japanese host clubs, it also examines the parameters of apparently transgressive gender formations. Just as critics of the meterosexual trend in the US have argued that the gay men in Queer Eye are nothing more than handmaidens for heteronormativity, I will argue that Japanese hosts, practices ultimately reinscribe even as the they disrupt prevailing heteronormative notions of beauty and romance.

Reaching Out from the Margins

Reaching Out from the Margins:
Queer Community Formation in an ‘Aesthete’ Magazine for Teenage Girls
James Welker

บทคัดย่อในงานการประชุมวิชาการLocal Japanese Responses to Queer Activism ในการประชุมนานาชาติ “เพศวิถี เพศภาวะ และสิทธิในเอเชีย: การประชุมนานาชาติครั้งแรกว่าด้วยเรื่องเควียร์ศึกษา” (Sexualities, Genders, and Rights in Asia, 1st International Conference of Asian Queer Studies) จัดโดยโครงการจัดตั้งสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายเควียร์แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร

The popularity of the SHONEN AI (boys’ love) genre of SHOUJO MANGA (girls’ comics) has drawn significant critical attention. While SHONEN AI has been described as offering a liberatory sphere within which readers are freed to experiment with romance and sexuality, what has little been noted is the genre’s appeal to young people whose sexual desire and identities transgress heteropatriarchal norms. Given the popularity of this genre, with its focus on beautiful, often androgynous boys in love with each others, it is unsurprising that the end of the 1970s saw the appearance of a few magazines aimed at teenage girls and focused on these BISHONEN (beautiful boys) and their romantic, sometimes sexual relationships with each other. Among the readership of these TANBIHA (cult of aesthetes) magazines were young women and men drawn to depictions of a range of homosexual and transgender desire and identities. The existence of these readers is evidenced by their contributions to the magazines, sometimes as editorial commentary, sometimes as confessional testimony. ARAN (Allan) specifically published a ‘LESBIENNE’ personals column, which first appeared literally on the margins of the magazines, and which eventually made space for male readers. In allowing readers to make textual if not physical contact with each other, these magazines functioned as sites where queer young people were able to find or create communities of others like themselves. This paper examines reader contributions to these TANBIHA magazines and explores their role in community formation among young people resisting heteronormativity.

ความนิยมในการ์ตูนผู้หญิงที่นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้ชาย หรือ SHONEN AI ซึ่งสะท้อนการแสดงออกและการค้นหาตัวตนทางด้านเพศวิถีของกลุ่มคนหนุ่มสาวในปัจจุบันที่นอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ของสังคม โดยการศึกษานี้เน้นความหมายทางด้านความสวยงามของตัวละครผู้ชาย หรือ BISHONEN และความงดงามของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้ชาย หรือ TANBIHA ทั้งสองรูปแบบเริ่มปรากฏขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 ตามหนังสือและนิตยสารของผู้หญิง ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์เหล่านี้กลายเป็นการค้นหาและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบสิ่งเดียวกันจนรวมตัวกันเป็นชุมชนที่มีรูปแบบและบทบาทแตกต่างจากชุมชนอื่น

Ryu



ตำนานหรือเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับมังกรนั้น สามารถพบได้ทั่วโลก แต่ใน Claw of the Dragon นี้ เราจะขอนำเสนอรายละเอียดของมังกรญี่ปุ่นเท่านั้นนะคะ


มังกรญี่ปุ่น มักจะเรียกว่า Ryu หรือ Ryo โดยเชื่อว่ามังกรอยู่ในน้ำเฉพาะฤดูใบไม้ร่วง และกลับขึ้นสวรรค์ในฤดูใบไม้ผลิ ดังนั้นตามทะเลสาบหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทุกแห่งจะมีมังกรอาศัยอยู่


ชื่อเรียกของมังกรญี่ปุ่น จะมีหลากหลายตามคุณลักษณะ เช่น Ko ryu เป็นมังกรมีเกล็ด O ryu เป็นมังกรมีปีก Kyu ryu เป็นมังกรมีเขา Han ryo เป็นมังกรที่ไม่มีลักษณะที่เด่นชัด


ตามคติความเชื่อเรื่องมังกรของญี่ปุ่นจะคล้ายคลึงกับจีน คือ งูพิษเมื่อมีอายุถึง 500 ปีจะเป็น Mizute ต่อมา Mizute อายุ 1,000 ปี จะเป็นมังกร พอเป็นมังกรอายุ 500 ปีจึงจะมีเขา แต่ถ้าอายุ 1,000 ปีจึงจะมีปีก


สีลำตัวของมังกรนั้นมีหลากหลายโดยอาจจะขึ้นอยู่กับแหล่งที่อยู่อาศัย หรือว่าอำนาจในการดลบันดาลการควบคุมปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้นๆ ซึ่งสีที่มักจะกล่าวถึงบ่อยๆ คือ สีเหลือง แดง น้ำเงิน ขาว และดำ


ส่วนที่อยู่ของมังกรหรือวังมังกรนั้นเรียกว่า Ryugu อยู่ใต้ทะเลลึกใกล้กับเกาะRyuku หรือโอกินาวานั่นเอง โดยเวลาที่วังมังกรหนึ่งวันเท่ากับเวลาของโลกมนุษย์หนึ่งร้อยปี


ตำนานญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับมังกร เช่น Yamata no Orochi เรื่องราวของสึซาโนผู้ปราบมังกรแปดหัวแปดหางด้วยดาบคุซานางิ ตลอดจน Urashima หนุ่มชาวประมงที่ช่วยเหลือเต่า จนได้เข้าไปใช้ชีวิตที่วังมังกร


หากเพื่อนๆ คนไหนที่สนใจลองไปหารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ส.พลายน้อย, 2535. เล่าเรื่องมังกร. พิมพ์ครั้งที่3. สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง. และ http://www.onmarkproductions.com/html/dragon.shtml นะคะ

การสัก



การสัก หมายถึง การใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย โดยการสักในแต่ละวัฒนธรรมต่างก็มีความหมายแตกต่างกันไป


ในสังคมกรีก การสักจะทำเฉพาะใบหน้าของทาส และอาชญากร ต่อมาเริ่มแพร่หลายมากขึ้นทั่วทวีปยุโรป จนกระทั่ง ค.ศ. 787 สันตะปาปาฮัดเดรียนที่หนึ่ง ได้ประกาศห้ามผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาสักบนใบหน้า เนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นมา การมีรอยสักเช่นนี้จึงเป็นการลบหลู่ต่อพระผู้เป็นเจ้า ตามที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม เลวีนิติ (19: 28) เจ้าอย่าเชือดเนื้อของเจ้าเพราะเหตุมีคนตาย หรือสักเป็นเครื่องหมายใดๆ ลงที่ตัวเจ้า เราคือพระเจ้า เนื่องจากการสักมีนัยยะของการหลงใหลที่ก่อให้เกิดความต้องการทางเพศ (fetishism) และการบูชาวัตถุ (worship of idol) ซึ่งเป็นข้อห้ามหนึ่งในบัญญัติสิบประการ


ในประเทศไทย จุดประสงค์ในการสักหลากหลาย เช่น การสักหรือการสักเลกนั้นเป็นการทำเครื่องหมายที่ข้อมือ เพื่อแสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือไพร่หลวงที่มีสังกัดกรมกองแล้ว จนกระทั่งยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนการสักหน้าผาก หรือการสักท้องแขนใช้เฉพาะกับผู้ต้องโทษจำคุก เพื่อประจานความผิดตามกฎมณเฑียรบาล จนยกเลิกไปในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รวมทั้งการสักยันต์เพื่อปกป้องคุ้มครองจากภยันตรายเช่นเดียวกับพระเครื่อง หรือเครื่องรางของขลังอื่นๆ ตลอดจนเมตตามหานิยม


ในญี่ปุ่น การสักหรือที่เรียกว่า Irezumi แปลว่า การเติมหมึกนั้น คาดว่าเริ่มปรากฏในประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 8 การสักถูกใช้เสมือนการจำแนกและประทับตราคนกลุ่มต่างๆ เช่น เพชฌฆาต สัปเหร่อ อาชญากร จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 การสักแบบ Horibari ที่มีลวดลายประดับประดา (decorative tattoo) ทั่วร่างกายตลอดจนศีรษะ เริ่มปรากฏขึ้นจนกลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายใน ค.ศ. 1750 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่พวก eta ซึ่งเป็นชนชั้นที่มีฐานะทางสังคมต่ำที่สุดในขณะนั้น ลวดลายที่ใช้นิยมนำมาจากจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ตลอดจนเทพต่างๆ ตามความเชื่อทางศาสนา หรือนิทานพื้นบ้าน


ปัจจุบันลายในการสัก สามารถแบ่งออกเป็น แฟนตาซี สไตล์ (เป็นการผสมผสานทุกรูปแบบไว้ด้วยกันตามที่สร้างสรรค์ขึ้น) ทริบอล สไตล์ (มีลักษณะเป็นลวดลายเล็กๆ เช่น เถาวัลย์ ซึ่งมักประดับอยู่บนข้อมือ นิ้ว ข้อเท้า) ยุโรป สไตล์ (เป็นภาพเหมือน สร้างมิติด้วยการลงแสงเงา คล้ายกับภาพเหมือนบุคคล) เจแปน สไตล์ (ลวดลายที่บ่งบอกความเป็นตะวันออก เช่น มังกร ปลาคาร์พ) เวิร์ด สไตล์ (ตัวอักษรหรือคำที่มีความหมายดีๆ) ไกเกอร์ สไตล์ (ลวดลายอยู่ในรูปแบบที่เป็นนามธรรม) รวมถึงรอยสักสำหรับคนเฉพาะกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นฮิปฮอป สไตล์ (เป็นลายสักสีสันเน้นโทนคล้ายคลึงกับงานกราฟิตี้ โดยมีทั้งลวดลายที่เป็นตัวอักษรและรูปภาพ) พังก์ สไตล์ (ลายสักที่ไม่เน้นสีสัน แต่เน้นลวดลายสีดำมากกว่า โดยลายที่นิยม ได้แก่ ดาวแฉก และตัวอักษรโบราณ หรือตัวอักษรในคัมภีร์) ฮาร์ดคอร์ สไตล์ (ลวดลายจะใกล้เคียงกันกับพังก์ สไตล์ โดยเน้นโทนสีดำเป็นหลัก ลายมักออกแนวเรียลลิสติก ) อินดี้ สไตล์ (เป็นรอยสักที่ไม่ได้มีรูปแบบชัดเจน ไม่มีอะไรตายตัว ทั้งนี้เพราะขึ้นอยู่กับรสนิยมความชอบส่วนบุคคลเป็นหลัก) เป็นต้น


ขณะเดียวกันการสักอาจจะก่อให้เกิดอันตรายจากการติดเชื้อโรคชนิดต่างๆ เช่น impetigo, staph infection, cellulitis ตลอดจนปฏิกิริยาจากสีซึ่งสักลงไปปัจจุบันใช้สารที่นิยมใช้เป็นสีหลายชนิดมักเป็นโลหะหนัก เช่น สารปรอท แร่เหล็ก แร่โคบอลด์ สารเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาบางอย่างโดยเฉพาะสารสีแดง (cinnabar) ของโลหะจะพบได้บ่อยที่สุด


การลบรอยสักมีวิธีการต่างๆ หลายวิธี แต่ละวิธีก็มีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น


- การผ่าตัดออก (SURGICAL EXCISION): เหมาะในรายเป็นรอยสักที่มีขนาดเล็ก หรือเป็นจุดๆ จะได้มีแผลที่มีขนาดเล็ก แต่ในรายที่มีรอยสักขนาดใหญ่ อาจจะใช้ตัวขยายเนื้อ (TISSUE EXPANSION) ช่วยเหลือได้


- การกรอผิวด้วยเครื่องกรอผิว (DERMABRASION): ในรายที่เป็นรอยสักมืออาชีพ การใช้การกรอผิวอย่างเดียว หรือร่วมกับการใช้เกลือแกงบริสุทธิ์จะช่วยให้ได้ผลดี ซึ่งในรายที่สักตื้นๆ การกรอผิวมากกว่าสองครั้งสามารถให้ได้ผลดีแผลเป็นน้อย ซึ่งในการทำครั้งที่สอง ควรจะรอประมาณ 3 ถึง 6 เดือน


- การลอกด้วยสารเคมี (CHEMICAL PELING): มักใช้กรดบางชนิด หรือสาร PHENOL ทำให้เกิดเป็นรอยแผลไฟไหม้ขึ้นบริเวณรอยสัก แต่วิธีนี้มักจะมีผลแทรกซ้อนสูง จึงไม่ค่อยใช้กัน


- การสักเพิ่มขึ้น (OVERTATTOOING OR RETATTOOING)


- การลบด้วยไฟฟ้า (ELECTRIC CAUTERY)


- การลบด้วยเครื่องเลเซอร์ (LASER BEAM): ที่นิยมใช้กันได้แก่ Q-SWITCHEDND-YAG และ Q-SWITCHED RUBY LASER ซึ่งมักจะได้ผลดีในรายที่เป็นสีน้ำเงิน และดำ ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดี และมีผลข้างเคียงเช่นกัน ได้แก่ ผิวหนังเป็นรอยริ้ว หรือเป็นรอยด่างขาว


หากเพื่อนๆ คนไหนสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ลองไปตามอ่านบางส่วนเพิ่มเติมได้จาก นิติ ภวัครพันธุ์, 2541. รอยสัก กับการสร้าง ตัวตน ใน ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนัตกูล, บรรณาธิการ. เผยร่าง-พรางกาย: ทดลองมองร่างกายในศาสนา ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และมานุษยวิทยา. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. หน้า 185 233. นะคะ

Sex Toys

Sex Toy หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับความสุขทางเพศ (Pleasure) ไม่ใช่เพื่อการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Intercourse) เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้สามารถใช้สำหรับการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (Masturbation) ด้วย

Sex Toy ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่าเริ่มต้นปรากฏขึ้นมาครั้งแรกในสมัยใด เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นก็ให้นิยามแตกต่างกันออกไป เช่น กระจกเงาสามารถนับเป็นSex Toy อย่างหนึ่งตามความเชื่อของคนจีน แต่คนยุโรปไม่นับว่ากระจกเป็นSex Toy ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น

หากเราจะจัดประเภทว่าสิ่งใดบ้างคือ Sex Toy บ้าง เราอาจจะต้องใช้วัตถุประสงค์หลักในการเพิ่มความสุขทางเพศมาเป็นเกณฑ์ ดังนั้น Sex Toy อาจจะรวมไปถึงถุงยางอนามัย และสื่อต่างๆ ด้วย ถึงแม้ว่าจะมีข้อถกเถียงว่าประโยชน์โดยตรงของถุงยางอนามัยคือการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด แต่ในปัจจุบันถุงยางอนามัยก็มีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น เช่น กลิ่นต่างๆ ผิวขรุขระ หรือเคลือบยาชา แต่เรามักจะนึกถึงSex Toy ในการมีเพศสัมพันธ์แบบSadism-Masochist เท่านั้น

วัสดุที่นำมาใช้ผลิต Sex Toy นั้น มีหลากหลาย แต่ละประเภทจะให้สัมผัสที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น Siliconeให้สีธรรมชาติและดูแลรักษาง่ายจึงนิยมนำมาเป็นวัตถุดิบมากที่สุด Jellyให้สัมผัสยืดหยุ่นคล้ายกับน้ำ PVCและโลหะให้สัมผัสที่เย็นและกระด้าง Cyberskin หรือผิวหนังเทียมให้สัมผัสเหมือนกับผิวหนังมนุษย์มากที่สุด ตลอดจนวัสดุธรรมชาติจำพวกไม้หรือผักผลไม้ต่างๆ ที่มีอายุการใช้งานต่ำ แต่อันตรายก็จะต่ำกว่าวัสดุสังเคราะห์เช่นเดียวกันSex Toy เหล่านี้ ใช้ในการกระตุ้น G-spot ที่มาจากชื่อของ Ernst Grafenberg สูตินารีแพทย์ชาวเยอรมันที่ค้นพบบริเวณที่ไวต่อการสัมผัสในบริเวณผนังช่องคลอดในปีค.ศ.1950 โดยเชื่อกันว่าจุดนี้ก็มีในทวารหนักของผู้ชายด้วยเช่นกัน

BDSM

คำว่า BDSM เป็นตัวย่อของคำห้าคำ ประกอบด้วย Bondage (B), Bondage & Discipline (B&D), Domination & Submission (D&S), Sadism และ Masochism

Bondage หมายถึง ทาส หรือสภาวะที่ถูกพันธนาการ โดยเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศสัมพันธ์ในยุคศตวรรษที่ 19 เมื่อผู้ปกครองนิยมมัดมือของบุตรชายเพื่อไม่ให้สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (Masturbation) เนื่องจากความเชื่อว่าการสำเร็จความใคร่จะทำให้ตาบอดและกลายเป็นคนวิกลจริต ต่อมาจึงพัฒนากลายมาเป็นรูปแบบการร่วมเพศที่ฝ่ายหนึ่งจะถูกพันธนาการไว้

Discipline หมายถึง การลงโทษที่ทำให้ฝ่ายที่ถูกลงโทษเต็มไปด้วยความหวาดกลัว (Fear) และความวิตกกังวล (Anxiety) เปลี่ยนความรู้สึกเหล่านั้นเป็นความต้องการทางเพศ (Sexual Arousal) โดยการลงโทษเหล่านี้เป็นการกระทำด้วยความเสน่หา (Passion) ไม่ใช่ความก้าวร้าว (Aggression) แต่อย่างใด

Domination & Submission หมายถึง รูปแบบความสัมพันธ์แบบคู่ขนานที่ประกอบด้วยสองฝ่ายคือ Active (ฝ่ายกระทำ) และ Passive (ฝ่ายถูกกระทำ) โดยบทบาทเหล่านี้เป็นการแบ่งบทบาทจากอำนาจในการบังคับให้อีกฝ่ายแสดงบทบาทตามที่ตนต้องการ ไม่ใช่บทบาทในการร่วมเพศว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่สอดใส่ (Sexual Intercourse) หรือถูกสอดใส่แต่อย่างใด ข้อสำคัญในระหว่างการร่วมเพศนั้น Passive จำเป็นต้องมีการสื่อสารด้วยคำพูดหรือกิริยาอาการเพื่อให้ Activeรู้ว่าตนเองถึงขีดจำกัดแล้ว เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

Sadism หมายถึง ผู้ชื่นชอบการทารุณกรรมผู้อื่นเพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศของตน โดยนำมาจากชื่อ Marquis De Sade (1740-1814) ชาวฝรั่งเศส งานเขียนที่สำคัญ คือ 120 Days of Sodom (1782) นำเสนอเรื่องราวของผู้ชายสี่คนที่กวาดต้อนผู้คนมาอยู่ในปราสาทเป็นเวลา 120 วัน โดยมีข้อแม้ว่าห้ามผู้ใดร่วมเพศตามแบบที่คริสตจักรกำหนด มิฉะนั้นจะถูกประหาร ซึ่งข้อกำหนดของคริสตจักรคือการร่วมเพศต้องอยู่ภายใต้การแต่งงานและเพื่อการมีบุตรเท่านั้น ห้ามมีเพศสัมพันธ์เพื่อความสุข รวมทั้งท่าในการร่วมเพศ (Position) ต้องเป็นท่าที่ผู้หญิงอยู่ข้างล่างหรือที่เรียกว่าท่ามิชชันนารี โดยระดับของ Sadism ที่อันตรายที่สุดจะไม่มีการร่วมเพศ แต่จะเป็นการทรมานให้ตายอย่างช้าๆ หรือที่เรียกว่า Lust Murder

Masochism หมายถึง ผู้ชื่นชอบการถูกทารุณกรรมเพื่อกระตุ้นความต้องการทางเพศของตน โดยนำมาจากชื่อ Leopold Von Sacher Masoch (1836-1905) ชาวออสเตรีย งานเขียนที่สำคัญ คือ Venus in the Furs (1846) นำเสนอเรื่องราวของผู้ชายคนหนึ่งที่ชื่นชอบการยินยอมเป็นทาสในการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวที่สวมใส่เสื้อคลุมขนสัตว์และมีท่าทางเหมือนราชินี

ชื่อของทั้งคู่เริ่มปรากฏเป็นศัพท์เฉพาะในการเรียกกามวิตถาร (Paraphilia) นับตั้งแต่งานเขียน Psychopathia Sexualis (1886) ของRichard Freiherr von Krafft - Ebing จิตแพทย์ชาวเยอรมัน

เพศสัมพันธ์แบบ BDSM จะเรียกว่าผิดปกติหรือไม่นั้น จำเป็นต้องใช้ความรู้ในแต่ละสาขามาผสมผสานกัน ไม่ว่าจะเป็นมุมมองทางชีววิทยาที่จำกัดว่าเพศสัมพันธ์ใดที่ไม่ก่อให้เกิดการสืบพันธุ์นั้นผิดปกติ หรือมุมมองทางมานุษยวิทยาที่ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นและกาลเวลา ตัวอย่างเช่น ความเชื่อในพิธีเข้าสู่ความเป็นหนุ่มของกรีกที่จะต้องให้ผู้ชายสูงอายุมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จนกระทั่งเติบโตต้องสลับบทบาท หากใครไม่สามารถเปลี่ยนบทบาทได้ก็จะถือว่าผิดปกติ แต่โดยส่วนใหญ่นิยมใช้เกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ใช้ความรู้สึกผิด (Guilty) และภาวะซึมเศร้า (Depressive) ในการพิจารณา

หลังจากที่เรารู้ความเป็นมาของคำว่า BDSM แล้ว เราก็จะมาลองดูตัวอย่างศัพท์ที่เราจะพบบ่อยๆ กันนะคะ โดยคำศัพท์ต่างๆ เหล่านี้อาจจะหมายถึงอุปกรณ์หรือรูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ก็ได้นะคะ เช่น

Bars หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการล่ามมือและเท้า นิยมทำมาจากไม้หรือโซ่ เพื่อตรึงระยะห่างให้คงที่

Cages หมายถึง กรงหรือการจองจำภายในกรง โดยภายในอาจจะมีพื้นที่เพียงแค่ให้ยืนหรือนั่งได้เท่านั้น

Catheters หมายถึง การสอดใส่สิ่งของเข้าไปที่ท่อปัสสาวะ เช่น สำลี ท่อ

Chains หมายถึง โซ่ที่มีไว้เพื่อล่ามหรือดัดแปลงใช้เป็น Sex Toy ได้หลายรูปแบบ รวมทั้งใช้แทน Vibrator ได้

Chastity Belt หมายถึง เข็มขัดป้องกันการนอกใจ นิยมทำมาจากหนังสัตว์ โดยเจาะช่องเล็กๆ เพื่อไว้ใช้สำหรับขับถ่ายเท่านั้น

Collars หมายถึง ปลอกคอที่ไว้ล่ามสัตว์เลี้ยง โดยนิยมทำจากหนังมากกว่าวัสดุอื่น

Crucifixion หมายถึง การตรึงกางแขน โดยนิยมใช้กางเขนแบบโรมันที่มีความยาวของทั้งสองด้านไม่เท่ากันเท่านั้น

Dildos หมายถึง องคชาติเทียม ทำมาจากวัสดุหลากหลายประเภท แต่ละประเภทจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไป

Encasement หมายถึง โลหะที่ใช้นำมาสวมใส่บริเวณองคชาติ คล้ายกับการสวมใส่หน้ากาก เพื่อเพิ่มความเจ็บปวดยามที่อวัยวะเพศแข็งตัว (Erection) และทำให้ไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้ (Orgasm)

Gags หมายถึง ที่อุดปาก หรืออาจจะใช้ Vibrator แทนก็ได้

Handcuffs หมายถึง กุญแจมือโดยอาจจะทำมาจากโลหะ

Hanging หมายถึง การแขวนขึ้นไปบนที่สูง โดยอาจจะใช้ Cage ด้วยก็ได้

Harnesses หมายถึง เครื่องเทียมม้าที่อาจจะนำมาใช้ในการล่าม หรือใช้ในการควบคุมให้เป็นพาหนะในการเดินทาง

Hoods หมายถึง หน้ากากหรือหมวกที่ใช้ในการสวมทั้งศีรษะ ใช้เฉพาะ Dominant เท่านั้น โดย Hood จะทำให้คนที่สวมใส่มีความกล้าและมั่นใจในการกระทำของตัวเองมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้อีกฝ่ายหวาดกลัวมากยิ่งขึ้น เพราะไม่สามารถอ่านความรู้สึกได้ หรือไม่รู้ว่าเป็นใคร

Hot Wax หมายถึง การใช้น้ำตาเทียนไขหยดลงไปตามบริเวณที่ไวต่อการสัมผัสของร่างกาย รวมทั้งสอดเทียนเข้าไปในช่องคลอด หรือทวารหนัก

Impaling หมายถึง การตอกตะปูตามบริเวณที่ไวต่อการสัมผัส เช่น องคชาติ

Lacing หมายถึง การเชื่อมต่อบริเวณต่างๆ ของร่างกายที่มีการเจาะพร้อมกับร้อยห่วงด้วยเชือกหรือเอ็น โดยอาจจะสามารถใช้เพื่อตรึงร่างกายให้อยู่กับที่ด้วยก็ได้

Mask หมายถึง หน้ากากที่ปกปิดเฉพาะบริเวณใบหน้าส่วนบน

Mittens หมายถึง ถุงมือหนังที่ไม่มีส่วนหุ้มข้อนิ้ว

Padlocks หมายถึง แม่กุญแจที่นำมาล็อคอุปกรณ์ต่างๆ หรือห้อยตามห่วงที่เจาะไว้ตามร่างกาย

Pipes หมายถึง กล้องยาสูบ สามารถนำเถ้ายาสูบมาใช้ในการจี้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือตัวกล้องที่สามารถดัดแปลงเป็น Sex Toy รวมทั้งยาสูบเหล่านั้นอาจจะเป็นสารกระตุ้นทางเพศได้ด้วย

Rape Racks หมายถึง เก้าอี้ที่มีอุปกรณ์ล็อคข้อมือและเท้า เพื่อให้สะดวกต่อการร่วมเพศ

Ropes หมายถึง เชือกที่ใช้ในการมัดหรือล่าม

Sex Clubs หมายถึง สมาคมของผู้ที่ชื่นชอบรูปแบบเพศสัมพันธ์ที่นอกเหนือจากข้อกำหนดของคริสตจักร เริ่มก่อตั้งในศตวรรษที่ 16 ประเทศฝรั่งเศส ในระยะแรกสมาคมนี้จะเป็นเพียงการรวมตัวของผู้ที่ชื่นชอบการแต่งกายข้ามเพศ (Cross dressing) เท่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้ที่มีคลับหลากหลายรูปแบบและเฉพาะทางมากขึ้น เช่น Outcast คลับ SM สำหรับเลสเบี้ยนในนิวยอร์ก

หมายเหตุ Cross dressing หมายถึง การแต่งกายข้ามเพศ เช่น ผู้ชายสวมกระโปรง แต่ Transvestites หมายถึง การแต่งกายข้ามเพศเพื่อตอบสนองหรือกระตุ้นความต้องการทางเพศ เช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (Masturbation) รวมทั้งการแต่งกายเพื่อตอบสนองความคลั่งไคล้ (Fetishes) บางอย่าง เช่น รองเท้าส้นสูง ถุงน่อง แต่ไม่ได้เกิดความรู้สึกอยากแปลงเพศ (Transsexual) แต่อย่างใด

Sex Show หมายถึง การแสดงการร่วมเพศ โดยการแสดงนี้อาจจะเป็นการแสดงเพียงคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ ผู้ชมสามารถชมการแสดงที่เวที หรือผ่านการถ่ายทอดจากวีดีโอที่นักแสดงอยู่บริเวณอื่น รวมทั้งการทำบรรยากาศทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่ากำลังแอบดู (Voyeur) โดยเจาะช่องหรือทำเป็นประตูแง้มๆ โดยส่วนใหญ่ผู้ชมจะไม่สามารถสัมผัสนักแสดงได้ แต่บางคลับผู้ชมสามารถเป็นนักแสดงได้ด้วย ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละร้านและกฎหมายของประเทศนั้น

Shackles หมายถึง อุปกรณ์ในการล็อคคอ ข้อมือ ข้อเท้าแบบต่อเนื่องเป็นชิ้นเดียวกันSpeculums หมายถึง คีมปากเป็ดที่ใช้ในการตรวจภายใน

Stocks หมายถึง ไม้หรือโลหะที่สามารถปรับระยะในการบีบรัดอวัยวะภายนอก เช่น หน้าอก หรือองคชาติ

Straightjackets หมายถึง เสื้อผ้าที่ใช้ในการสวมบทบาทการมีเพศสัมพันธ์ในคุกหรือโรงพยาบาลจิตเวช

Vibrators หมายถึง เครื่องสั่นสะเทือน อาจจะมีรูปร่างเหมือนองคชาติหรือไม่ก็ได้ โดยส่วนใหญ่มักจะมีเครื่องควบคุมเพื่อปรับระยะความแรงในการสั่นสะเทือนได้

Whips หมายถึง แส้ สามารถนำมาใช้เฆี่ยนหรือล่าม รวมทั้งดัดแปลงเป็นSex Toy

เพื่อนๆ คนไหนที่สนใจลองไปตามอ่านรายละเอียดบางส่วนได้จาก Love, Brenda B. 1992. The Encyclopedia of Unusual Sex Practices. Barricade Books Inc. นะคะ หนังสือเล่มนี้จะรวบรวมศัพท์แปลกๆ มาให้เราได้มากกว่า Encyclopedia of Sex เล่มอื่นแน่นอนค่ะ

Kanto & Kansai




ประเทศญี่ปุ่นประกอบด้วยเกาะใหญ่ 4 เกาะ คือ ฮอกไกโด (Hokkaido) ฮอนชู (Honshu) ชิโกกุ (Shikoku) และ คิวชู (Kyushu) รวมทั้งเกาะเล็กๆ ใกล้เคียงอีก 7,000 กว่าเกาะ

รูปแบบการบริหารประเทศจะมีลักษณะเป็นการปกครองแบบภูมิภาค โดยภูมิภาคทั้งแปดนั้น สามภูมิภาคมาจากเกาะใหญ่ คือ ฮอกไกโด ชิโกกุ และคิวชู โดยเกาะฮอนชูนั้นแบ่งออกเป็นห้าภูมิภาค คือ โทโฮคุ (Tohoku) คันโต (Kanto) ชูบุ (Chubu) คิงคิ (Kinki) และชูโกะกุ (Chugoku)

ภูมิภาคเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นซีกตะวันออกและตะวันตก โดยรูปแบบในการแบ่งภูมิภาคว่าภูมิภาคใดเป็นภูมิภาคตะวันออกหรือตะวันตกนั้น นิยมใช้การลากเส้นแบ่งจากอ่าวอิเสะ (Ise) บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังอ่าววาคาซะ (Wakasa) บนชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น และการแบ่งด้านตะวันออกและตะวันตกของภูเขาฟูจิ หรือที่เรียกว่า ฮาโกเน่ (Hakone Checkpoint) ที่เปรียบเสมือนจุดยุทธศาสตร์ในการเดินทัพสมัยโตกุกาวา (Tokugawa) จากเอโดะ (Edo) ซึ่งปัจจุบันคือโตเกียว (Tokyo) ถึงเกียวโต (Kyoto)ซีกตะวันออกจึงประกอบด้วยชูบุ คันโต โทโฮคุ และฮอกไกโด ซึ่งนับว่าเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาขึ้นมาภายหลังการปฏิรูปเมจิ (Meiji) ค.ศ. 1868 ซึ่งเป็นการเปิดประเทศต่อประเทศตะวันตกและสิ้นสุดการปกครองรูปแบบโชกุน (Shogun) ส่วนซีกตะวันตกประกอบด้วยคิวชู ชิโกกุ ชูโกะกุ และคิงกิ ซึ่งล้วนแต่เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีต




โดยภูมิภาคหลักที่ได้กล่าวถึงใน Claw of the dragon เล่มนี้นั้นประกอบด้วยภูมิภาคคันโตและคิงกิ หรือที่เรียกกันว่า คันไซ (Kansai) นั่นเองภูมิภาคคันโตเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบันคือโตเกียว โดยคำว่า คันโต หมายถึง ป้อมปราการทิศตะวันออก ซึ่งหมายถึงทิศตะวันออกของฮาโกเน่ ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ ดังนี้ กุมมะ (Gunma) โทะชิงิ (Tochigi) อิบะรากิ (Ibaraki) ไซตามะ (Saitama) โตเกียว ชิบะ (Chiba) และคะนะงาวา (Kanagawa) ภูมิภาคคันโตเป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น จึงเป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่น และศูนย์กลางของการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมตั้งแต่หลังการปฏิรูปเมจิที่มีการย้ายเมืองหลวงมาเป็นโตเกียว




ภูมิภาคคิงกิ หรือคันไซ เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเก่าทั้ง นารา (Nara) และเกียวโต (Kyoto) สอดคล้องกับการอ่านออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นอีกแบบหนึ่งของคิงกิว่า มิยาโกะ (Miyako) ซึ่งหมายถึง เมืองหลวง โดยคำว่าคิงกิหมายถึง เมืองที่อยู่ใกล้เคียงเมืองหลวง หากแต่คำว่าคันไซนั้น หมายถึง ทิศตะวันตกของฮาโกเน่ ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ ดังนี้ นารา เกียวโต วาคายามา (Wakayama) มิเอะ (Mie) โอซาก้า (Osaka) เฮียวโง (Hyogo) และชิงะ (Shiga) ภูมิภาคคิงกิเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญมากตั้งแต่อดีต ทั้งทางด้านการเมืองและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาราที่เป็นเมืองหลวงถาวรแห่งแรกของญี่ปุ่น เนื่องจากในอดีตจะมีการย้ายเมืองหลวงหลังการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์แต่ละพระองค์เพื่อหลีกเลี่ยงความตายตามความเชื่อของศาสนาชินโต (Shinto) และเกียวโตที่เป็นเมืองหลวงเก่า จนกระทั่งย้ายเมืองหลวงไปโตเกียว ทำให้ภูมิภาคนี้จึงให้ความสำคัญทางด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน การเกษตรกรรม ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คน

ถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจรายละเอียดลองไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ยุพา คลังสุวรรณ, 2547. ญี่ปุ่นสร้างชาติด้วยความรักและภักดี: ภูมิหลังทางวัฒนธรรมของสังคมญี่ปุ่น. สำนักพิมพ์มติชน. หรือ Kodansha International Ltd., 1994. Japan: Profile of a nation. Kodansha International Ltd. นะคะ